คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง
คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง เกิดเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๔๙ เป็นศิลปินสตรีไทยตัวอย่าง ที่ได้ใช้ความรู้ความสามารถในวิชาครูอันเป็นวิชาพื้นฐานที่ได้ศึกษามาผนวกกับทักษะวิชาการดนตรีไทยที่ได้เล่าเรียนสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ในสายสกุล “ศิลปบรรเลง” ได้ผลิตผลงานด้านศิลปะการแสดงสาขาดนตรีไทย โดยการประพันธ์ทำนองและบทร้องเพลงเป็นจำนวนมาก นอกจากจะนำไปใช้ในเชิงศิลปะการแสดงแล้ว ยังก่อให้เกิดคุณประโยชน์ได้อย่างดียิ่งในวงการศึกษา นับตั้งแต่เด็กระดับก่อนวัยเรียนไปจนถึงระดับอุดมศึกษา คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง ได้ทุ่มเท อุทิศกำลังกาย กำลังใจ สติปัญญา เวลาและทุนทรัพย์อย่างต่อเนื่อง ไม่เคยย่อท้อต่ออุปสรรค ในการที่จะถ่ายทอดความคิดก้าวหน้าในการเรียนการสอนดนตรีไทยทั้งในเชิงทฤษฎี ปฏิบัติ และการส่งเสริมให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในวงการดนตรีไทย เป็นผู้ตั้งมั่นในความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ทำคุณประโยชน์แก่วงดนตรีไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งเผยแพร่ความรู้สาขาวิชาดนตรีไทยแก่ชาวต่างประเทศ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งหลักสูตรวิชาการดนตรีไทยในสถาบันการศึกษาหลายแห่งลุก่อตั้งมูลนิธิหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้สร้างคุณูปการแก่วงดนตรีไทยมากว่า ๖๐ ปี ได้รับปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ ประสานมิตร
คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๓๐
***********************************************
ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา
ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๒ ที่กรุงเทพมหานครเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนกรุงปารีส และย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนเวลลิ่งบาเร่อร์ ที่ประเทศอังกฤษ จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ อยู่ในยุโรปรวม ๑๗ ปี แล้วจึงเขารับราชการที่กรมโยธาธิการและสำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๒ ที่กรุงเทพมหานครเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนกรุงปารีส และย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนเวลลิ่งบาเร่อร์ ที่ประเทศอังกฤษ จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ อยู่ในยุโรปรวม ๑๗ ปี แล้วจึงเขารับราชการที่กรมโยธาธิการและสำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
ตั้งแต่รับรับราชการจนกระทั่งลาออกมาก่อตั้งบริษัทสถาปนิกเป็นของตนเองได้ริเริ่มงานอนุรักษ์ที่สำคัญ ๆ ของประเทศไทยเป็นจำนวนมาก โดยการริเริ่มแนวความคิดอุทยานประวัติศาสตร์ ในประเทศไทยเริ่มโครงการอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา และสุโขทัย การย้ายตลาดนัดสนามหลวง ริเริ่มและวางผังลานสวนพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯลฯ
นอกจากนี้ยังเป็นสถาปนิกที่นำแนวคิดศิลปะร่วมสมัยมาออกแบบอาคารต่าง ๆ ที่ให้ทั้งประโยชน์ใช้สอยและศิลปะสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับยุคสมัยไว้เป็นจำนวนมาก เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์กรุงเทพอาคารพลังงานสถาบัน เอ ไอ ที อาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารเอเชีย ที่ทำการมูลนิธิดวงประทีป และอาคารเดอะเนชั่น ฯลฯ ซึ่งผลงานการออกแบบศิลปะสถาปัตยกรรมของ ดร.สุเมธ ได้รับการยอมรับในระดับสากล เป็นสถาปนิกไทยเพียงคนเดียวที่ได้รับการคัดเลือกผลงานไปจัดนิทรรศการสถาปนิกชั้นนำ ๕๐ คนของโลก ณ กรุงเวียนนาเป็น ๑ ใน ๑๔ สถาปนิกรับเชิญจากทางการของนครเจนีวาให้ร่วมประกวดออกแบบอาคารกลุ่มใหม่แก่องค์การสหประชาชาติ ได้รับการพิจารณาเป็นอันดับ ๓ นอกจากนี้เป็นคนเดียวที่ได้ไปนิทรรศการงานสถาปัตยกรรมที่เวนิสเบียนาเล่ ค.ศ. ๑๙๙๖ และเป็นศิลปินรับเชิญในกลุ่มสัมมนาเศรษฐกิจโลก (เวิลด์ อีคอนอมิค ฟอรั่ม ค.ศ. ๑๙๙๙ ) ที่ดาโว๊สประเทศสวิสเชอร์แลนด์ ซึ่งในโอกาสเดียวกันได้ถูกคัดเลือกเข้ารับรางวัล “คริสเติล” ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดสำหรับศิลปินระดับนานาชาติ ปัจจุบัน ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา เป็นกรรมการของคณาจารย์ (Faculty Member) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
ดร.สุเมธ เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะปัตยกรรมที่มีคุณค่าทางด้านศิลปะจำนวนมากกว่า ๒๐๐ โครงการ เคยได้รับเกียรติคุณเป็นนักอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น ได้รับพระราชทานกิตติบัตรบุคคลตัวอย่างด้านส่งเสริมงานอนุรักษ์ศิลปะ
ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยาจึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (สถาปัตยกรรมร่วมสมัย) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๑
***********************************************
ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์
ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ เป็นนักดนตรีเอกของไทย ได้สร้างสรรค์ผลงานอมตะไว้เป็นจำนวนมาก โดยได้ประพันธ์ทำนองเพลงไว้ทั้งหมดถึง ๑๑๒ เพลง ทั้งที่เป็นเพลงอ่อนหวาน ไพเราะประทับใจ โดยเฉพาะเพลง “บัวขาว” ซึ่งได้รับคัดเลือกให้เป็น “เพลงในเอเชีย” และเพลงปลุกใจ ซึ่งได้บรรเลงและขับร้องเพื่อประโยชน์ในการสร้างสรรค์ความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะในยามที่สถานการณ์ของบ้านเมืองอยู่ในภาวะตึงเครียด ด้วยอัจฉริยภาพ ความรู้ ความสามารถ ที่ได้ทุ่มเทชีวิตเพื่อการดนตรี และอุทิศตนเพื่อบำเพ็ญกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างแท้จริง เป็นตัวอย่างของคนไทยผู้เกิดมาเพื่อบำเพ็ญแต่คุณงามความดี เกียรติคุณของท่านจึงควรแก่การสรรเสริญและยกย่องเชิดชูไว้ในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล) ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๒๙
ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ เป็นนักดนตรีเอกของไทย ได้สร้างสรรค์ผลงานอมตะไว้เป็นจำนวนมาก โดยได้ประพันธ์ทำนองเพลงไว้ทั้งหมดถึง ๑๑๒ เพลง ทั้งที่เป็นเพลงอ่อนหวาน ไพเราะประทับใจ โดยเฉพาะเพลง “บัวขาว” ซึ่งได้รับคัดเลือกให้เป็น “เพลงในเอเชีย” และเพลงปลุกใจ ซึ่งได้บรรเลงและขับร้องเพื่อประโยชน์ในการสร้างสรรค์ความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะในยามที่สถานการณ์ของบ้านเมืองอยู่ในภาวะตึงเครียด ด้วยอัจฉริยภาพ ความรู้ ความสามารถ ที่ได้ทุ่มเทชีวิตเพื่อการดนตรี และอุทิศตนเพื่อบำเพ็ญกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างแท้จริง เป็นตัวอย่างของคนไทยผู้เกิดมาเพื่อบำเพ็ญแต่คุณงามความดี เกียรติคุณของท่านจึงควรแก่การสรรเสริญและยกย่องเชิดชูไว้ในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล) ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๒๙
***********************************************
นางกัณหา เคียงศิริ
นางกัณหา เคียงศิริ นามปากกา ก.สุรางคนางค์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๔ เป็นนักประพันธ์สตรีที่มีผู้อ่านนิยมในผลงานด้าน นวนิยายมากที่สุด ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมา นวนิยายในนาม ก.สุรางคนางค์ ที่ยังนิยมอยู่ แม้ในปัจจุบันมีหลายเรื่อง เช่น บ้านทรายทอง พจมาน สว่างวงศ์ ดอกฟ้าและโดมจองหอง เขมรินทร์-อินทิรา และหญิงคนชั่ว งานนวนิยายของท่านได้สะท้อนถึงความคิดและทัศนคติของผู้คนในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างค่านิยมเดิมกับค่านิยมใหม่ของสังคมที่กำลังพัฒนาไปตามความเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย ผลงานของท่านจึงมีคุณค่าในฐานะเป็นวรรณกรรมที่ให้ภาพสะท้อนสังคมช่วงนั้น ๆ อันสำคัญยิ่ง ทั้งยังเป็นแบบฉบับนักประพันธ์สตรีของไทยที่ส่งอิทธิพลสืบมาถึงปัจจุบันด้วย
นางกัณหา เคียงศิริ นามปากกา ก.สุรางคนางค์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๔ เป็นนักประพันธ์สตรีที่มีผู้อ่านนิยมในผลงานด้าน นวนิยายมากที่สุด ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมา นวนิยายในนาม ก.สุรางคนางค์ ที่ยังนิยมอยู่ แม้ในปัจจุบันมีหลายเรื่อง เช่น บ้านทรายทอง พจมาน สว่างวงศ์ ดอกฟ้าและโดมจองหอง เขมรินทร์-อินทิรา และหญิงคนชั่ว งานนวนิยายของท่านได้สะท้อนถึงความคิดและทัศนคติของผู้คนในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างค่านิยมเดิมกับค่านิยมใหม่ของสังคมที่กำลังพัฒนาไปตามความเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย ผลงานของท่านจึงมีคุณค่าในฐานะเป็นวรรณกรรมที่ให้ภาพสะท้อนสังคมช่วงนั้น ๆ อันสำคัญยิ่ง ทั้งยังเป็นแบบฉบับนักประพันธ์สตรีของไทยที่ส่งอิทธิพลสืบมาถึงปัจจุบันด้วย
นอกจากคุณค่าเชิงวรรณศิลป์แล้ว งานประพันธ์ของ ก.สุรางคนางค์ ยังได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะดำรงไว้ซึ่งคุณธรรมในครอบครัวอันเป็นหน่วยย่อยที่สำคัญที่สุดของสังคมไทย และเป็นปัญหาร่วมสมัยของสังคมที่ต้องพัฒนา ดังจะเห็นได้ว่านวนิยายของ ก.สุรางคนางค์ ยังครองใจผู้อ่านอยู่แม้จนทุกวันนี้
นางกัณหา เคียงศิริ หรือ ก.สุรางคนางค์ จึงได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๒๙
***********************************************
นางสุกัญญา ชลศึกษ์
นางสุกัญญา ชลศึกษ์ นามปากกา ” กฤษณา อโศกสิน ” เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๗๔ ที่กรุงเทพมหานคร เป็นนักประพันธ์สตรีที่ประสบความสำเร็จยอดเยี่ยมในด้านการประพันธ์นวนิยาย ได้เริ่มงานประพันธ์นวนิยาย ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๙๗ นับถึงบัดนี้ เป็นเวลากว่า ๓๓ ปี ได้สร้างสรรค์ผลงานนวนิยายไว้มากมาย ทุกเรื่องได้รับการจัดพิมพ์เผยแพร่ในนิตยสารและจัดพิมพ์เป็นเล่ม ทั้งยังมีผู้ขออนุญาตลิขสิทธิ์นำไปดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์กว่า ๒๐ เรื่อง และถ่ายทำเป็นละครโทรทัศน์กว่า ๕๗ เรื่อง บางเรื่องมีผู้นำไปใช้ในวงการศึกษา ได้มุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงานด้วยความประณีต แสดงกลวิธีในการเสนอเรื่อง ตัวละคร ฉาก และแนวความคิดที่อุดมด้วยลักษณะวรรณศิลป์และสุนทรียภาพตามทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์วรรณกรรม ทั้งได้แสดงให้เป็นที่ประจักษ์ว่า เป็นผู้มีอุดมคติและมีความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะนักประพันธ์โดยได้นำหลักธรรมทางพุทธศาสนา โดยเฉพาะในเรื่องผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วของมนุษย์มาประกอบในการสร้างสรรค์นวนิยาย ทำให้ผลงานได้รับความนิยมอย่างสูงจากประชาชนและวงการวรรณกรรม ดังปรากฏว่าได้รับรางวัลวรรณกรรมทั้งระดับนานาชาติและระดับชาติถึง ๑๑ ครั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีนักประพันธ์ไทยคนใดเคยได้รับรางวัลเป็นจำนวนมากถึงเช่นนี้
นางสุกัญญา ชลศึกษ์ นามปากกา ” กฤษณา อโศกสิน ” เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๗๔ ที่กรุงเทพมหานคร เป็นนักประพันธ์สตรีที่ประสบความสำเร็จยอดเยี่ยมในด้านการประพันธ์นวนิยาย ได้เริ่มงานประพันธ์นวนิยาย ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๙๗ นับถึงบัดนี้ เป็นเวลากว่า ๓๓ ปี ได้สร้างสรรค์ผลงานนวนิยายไว้มากมาย ทุกเรื่องได้รับการจัดพิมพ์เผยแพร่ในนิตยสารและจัดพิมพ์เป็นเล่ม ทั้งยังมีผู้ขออนุญาตลิขสิทธิ์นำไปดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์กว่า ๒๐ เรื่อง และถ่ายทำเป็นละครโทรทัศน์กว่า ๕๗ เรื่อง บางเรื่องมีผู้นำไปใช้ในวงการศึกษา ได้มุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงานด้วยความประณีต แสดงกลวิธีในการเสนอเรื่อง ตัวละคร ฉาก และแนวความคิดที่อุดมด้วยลักษณะวรรณศิลป์และสุนทรียภาพตามทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์วรรณกรรม ทั้งได้แสดงให้เป็นที่ประจักษ์ว่า เป็นผู้มีอุดมคติและมีความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะนักประพันธ์โดยได้นำหลักธรรมทางพุทธศาสนา โดยเฉพาะในเรื่องผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วของมนุษย์มาประกอบในการสร้างสรรค์นวนิยาย ทำให้ผลงานได้รับความนิยมอย่างสูงจากประชาชนและวงการวรรณกรรม ดังปรากฏว่าได้รับรางวัลวรรณกรรมทั้งระดับนานาชาติและระดับชาติถึง ๑๑ ครั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีนักประพันธ์ไทยคนใดเคยได้รับรางวัลเป็นจำนวนมากถึงเช่นนี้
นางสุกัญญา ชลศึกษ์ หรือ ” กฤษณา อโศกสิน ” จึงได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (นวนิยาย) ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๓๑
***********************************************
นายกรี วรศะริน
นายกรี วรศะริน เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๗ ที่กรุงเทพมหานคร เป็นศิลปินผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์โขน ของวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร มีความสามารถรอบรู้กระบวนการงานนาฏศิลป์ และการแสดงโขนทุกประเภท เป็นหลักและแม่แบบโดยเฉพาะโขนตัวลิง เป็นผู้อนุรักษ์แบบแผนการแสดงโขน ทั้งยังสร้างสรรค์และประดิษฐ์ผลงานด้านการแสดงโขน - ละครหลายชุด ซึ่งวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากรและวงการนาฏศิลป์ทั่วประเทศ ได้ยึดถือเป็นแบบฉบับของการแสดงและการเรียนการสอนสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังนิเทศการสอนวิชานาฏศิลป์โขนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เป็นผู้ร่วมพิจารณาหลักสูตรสาขาวิชานาฏศิลป์ไทย และร่วมพัฒนาหลักสูตรรายวิชาตลอดจนสื่อการเรียนการสอนระดับปริญญา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและวิทยากรในวิชาศิลปะนิพนธ์ เป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม เสียสละและอุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและงานนาฏศิลป์ ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ศิษย์และบุคคลทั่วไปอย่างสม่ำเสมอมากกว่า ๕๐ ปี จนเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการนาฏศิลป์ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน
นายกรี วรศะริน เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๗ ที่กรุงเทพมหานคร เป็นศิลปินผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์โขน ของวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร มีความสามารถรอบรู้กระบวนการงานนาฏศิลป์ และการแสดงโขนทุกประเภท เป็นหลักและแม่แบบโดยเฉพาะโขนตัวลิง เป็นผู้อนุรักษ์แบบแผนการแสดงโขน ทั้งยังสร้างสรรค์และประดิษฐ์ผลงานด้านการแสดงโขน - ละครหลายชุด ซึ่งวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากรและวงการนาฏศิลป์ทั่วประเทศ ได้ยึดถือเป็นแบบฉบับของการแสดงและการเรียนการสอนสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังนิเทศการสอนวิชานาฏศิลป์โขนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เป็นผู้ร่วมพิจารณาหลักสูตรสาขาวิชานาฏศิลป์ไทย และร่วมพัฒนาหลักสูตรรายวิชาตลอดจนสื่อการเรียนการสอนระดับปริญญา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและวิทยากรในวิชาศิลปะนิพนธ์ เป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม เสียสละและอุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและงานนาฏศิลป์ ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ศิษย์และบุคคลทั่วไปอย่างสม่ำเสมอมากกว่า ๕๐ ปี จนเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการนาฏศิลป์ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน
นายกรี วรศะริน สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์-โขน) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๑
***********************************************
นายประสงค์ ปัทมานุช
นายประสงค์ ปัทมานุช ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ เกิดวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๖๑ เป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญในด้านจิตรกรรมที่มีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับในวงการศิลปะและทั่วไป ไ ด้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมที่เป็นงานศิลปะแบบปัจจุบันและแบบประเพณีไว้มากมายหลายแห่ง ได้ส่งผลงานเข้าร่วมการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติตั้งแต่ครั้งที่ ๑ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๒ ได้รับรางวัลเกียรตินิยมเหรียญทองหลายครั้ง และได้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยมผลงานที่สำคัญได้รับการติดตั้งแสดงถาวรในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นอกจากนี้ยังเป็นผู้บุกเบิกในทางจิตรกรรมสัญลักษณ์ นิยมอีกด้วย ในด้านวิชาการนั้นเป็นอาจารย์รุ่นแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร สมัยบุกเบิก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๖ เป็นผู้ที่มีความสามารถในการเขียนภาพทั้งแบบใหม่และแบบเก่า มีบทบาทในการอนุรักษ์สืบต่อศิลปะแบบไทยประเพณีนิยมกรมศิลปากร ได้จัดนิทรรศการเชิดชูเกียรติ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๙ ท่านได้อุทิศเวลาอันยาวนานทำงานศิลปะ ด้วยความสามารถพิเศษในทางจิตรกรรม จึงได้รับเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๒๙
นายประสงค์ ปัทมานุช ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ เกิดวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๖๑ เป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญในด้านจิตรกรรมที่มีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับในวงการศิลปะและทั่วไป ไ ด้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมที่เป็นงานศิลปะแบบปัจจุบันและแบบประเพณีไว้มากมายหลายแห่ง ได้ส่งผลงานเข้าร่วมการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติตั้งแต่ครั้งที่ ๑ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๒ ได้รับรางวัลเกียรตินิยมเหรียญทองหลายครั้ง และได้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยมผลงานที่สำคัญได้รับการติดตั้งแสดงถาวรในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นอกจากนี้ยังเป็นผู้บุกเบิกในทางจิตรกรรมสัญลักษณ์ นิยมอีกด้วย ในด้านวิชาการนั้นเป็นอาจารย์รุ่นแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร สมัยบุกเบิก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๖ เป็นผู้ที่มีความสามารถในการเขียนภาพทั้งแบบใหม่และแบบเก่า มีบทบาทในการอนุรักษ์สืบต่อศิลปะแบบไทยประเพณีนิยมกรมศิลปากร ได้จัดนิทรรศการเชิดชูเกียรติ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๙ ท่านได้อุทิศเวลาอันยาวนานทำงานศิลปะ ด้วยความสามารถพิเศษในทางจิตรกรรม จึงได้รับเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๒๙
***********************************************
นายประสิทธิ์ ถาวร
นายประสิทธิ์ ถาวร เกิดเมื่อวันที่ ๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๔ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นดุริยางค์ศิลปิน “ประจำสำนัก” แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ข้าราชการบำนาญกรมศิลปากร ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสถาน (สาขาศิลปะ) กรรมการที่ปรึกษาหลักสูตรวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศิลปินผู้เชี่ยวชาญในวิชาดนตรีไทย ทั้งในด้านทฤษฎี ปฏิบัติการประพันธ์เพลง และปรัชญาสุนทรียศาสตร์ มีความแตกฉานในศาสตร์แห่งดนตรีไทยอย่างลึกซึ้ง มีความสามารถสูงส่งในการบรรเลงระนาดเอก เป็นที่กล่าวขานและยกย่องในหมู่ผู้ชำนาญการดนตรีไทยว่าเป็นผู้มีความสามารถบรรเลงระนาดเอกได้ทุกรสและทุกรูปแบบยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือน เป็นเลิศทั้งในเชิงบรรเลง รวมวง และการบรรเลงเพลงเดี่ยว มีความรู้ความชำนาญอย่างดียิ่งในการปรับวงดนตรีไทย ตลอดจนการวิเคราะห์ดนตรีไทย มีความสามารถยอดเยี่ยมในการอธิบายและพรรณนา เชิงเปรียบเทียบโดยใช้วิธีการอุปมาอุปมัย จนผู้ฟังสามารถเข้าใจเรื่องดนตรีอันล้ำลึกได้อย่างกระจ่าง เป็นผู้เชี่ยวชาญในการถ่ายทอดความรู้ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ ไม่ว่าเป็นผู้รับจะเป็นคนกลุ่มอายุใดก็ตาม ด้วยความรู้ความสามารถที่ได้สั่งสมมาแต่เยาว์วัย ในแวดวงของครู อาจารย์ ญาติและมิตร กอปรกับการที่ได้เป็นศิษย์เอกแห่งสำนักดนตรี หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปะบรรเลง) และด้วยความช่างสังเกตศึกษาปฏิบัติทดลองด้วยตนเองจนแตกฉานทำให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ศิลปินทั้งในเชิงการประกอบอาชีพการอนุรักษ์เผยแพร่ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ให้แก่อนุชนได้เป็นอย่างดี และทำหน้าที่เป็นครูดนตรีไทยเป็นเวลานานเกือบ ๕๐ ปี มีศิษย์เป็นจำนวนมากทั่วพระราชอาณาจักร และเป็นผู้เริ่มจัดการบรรเลงเพลงไทยแบบมหาดุริยางค์ตามความประสงค์ของอาจารย์ เป็นผู้มั่นในคุณธรรม ได้ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักดนตรีไทยอย่างสม่ำเสมอ
นายประสิทธิ์ ถาวร สมควรได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๓๑
***********************************************
นายเปลื้อง ฉายรัศมี
นายเปลื้อง ฉายรัศมี เป็นนักดนตรีพื้นบ้านอีสานที่มีความสามารถพิเศษ สามารถเล่นและถ่ายทอดการเล่นดนตรีพื้นบ้านอีสาน ได้เกือบทุกชนิด ทั้ง พิณ แคน ซอ โปงลาง และอื่น ๆ โดยเฉพาะ “โปงลาง” นั้น สามารถเล่นและถ่ายทอดการเล่นได้ดีเป็นพิเศษ และที่สำคัญที่สุดคือ เป็นผู้ศึกษา ค้นคว้า ปรับปรุงและพัฒนาโปงลางมาตลอดระยะเวลา ๔๐ ปี จนทำให้ “เกราะลอ” ซึ่งเป็นเพียงสิ่งที่ใช้ไล่ตีนก กา ตามไร่ตามนา พัฒนาเป็น “โปงลาง” ที่มีสภาพเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงไพเราะ กังวาน และให้ความรู้สึกของความเป็นพื้นบ้านอีสานอย่างแท้จริง เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย และยอมรับกันว่าเป็นเครื่องดนตรีเอกลักษณ์ของภาคอีสานเคียงคู่กับ “แคน” ซึ่งมีอยู่ก่อนแล้ว จึงสมควรยกย่องและเชิดชู นายเปลื้อง ฉายรัศมี ไว้ในฐานะ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๒๙
***********************************************
นายพิมาน มูลประมุข
นายพิมาน มูลประมุข เกิดวันที่ ๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๕๕ ที่กรุงเทพหมานคร เป็นศิลปินอาวุโสที่มีเกียรติประวัติและผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับนับถือของวงการศิลปะและศิลปศึกษาโดยทั่วไป มีความเป็นเลิศด้านประติมากรรมการปั้นหล่อผลงานศิลปะทั้งแบบสมัยใหม่และแบบประเพณี ได้สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมไว้เป็นจำนวนมากด้วยระยะเวลาที่ยาวนานติดต่อกันมากกว่า ๕๐ ปี มีผลงานปรากฏอยู่ในสาธารณะ วัด พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอศิลป์ นิทรรศการผลงานศิลปะไทย ทั้งในและต่างประเทศ ได้รับเกียรตินิยมจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ได้รับการประกาศเกียรติคุณจากหอศิลป์ พีระศรี เป็นศิลปินเกียรติคุณอาวุโส ในด้านการถ่ายทอดวิชาความรู้ทางศิลปะ เป็นอาจารย์สอนศิลปะยุคบุกเบิกของมหาวิทยาลัยศิลปากร มีศิษย์เป็นจำนวนมาก เคยเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรและหัวหน้าแผนกงานปั้นหล่อของกรมศิลปากร รับผิดชอบงานสำคัญของชาติตลอดเวลาที่รับราชการ ได้ให้บริการแก่สังคมอย่างกว้างขวาง ด้วยผลงานศิลปะและวิชาการ ดำรงชีวิตสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเพื่อส่วนรวมด้วยความดีงามเป็นตัวอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลังจะดำเนินรอยตามสืบไป นายพิมาน มูลประมุข สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๑
***********************************************
นายคำสิงห์ ศรีนอก (ลาว คำหอม) เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๔๗๓ ที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นนักเขียนเชิงวิจารณ์สังคมที่มีผลงานต่อเนื่อง และเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการวรรณศิลป์มากกว่า ๓ ทศวรรษ ผลงานมีทั้งเรื่องสั้น นวนิยาย บทความ และสารคดี งานเขียนของ คำสิงห์ ศรีนอก โดยเฉพาะรวมเรื่องสั้นชุด ฟ้าบ่กั้น แสดงถึงชั้นเชิงและความสามารถทางวรรณศิลป์ในการถ่ายทอด ความสำนึกและความรับผิดชอบที่เขามีต่อสังคม คำสิงห์ ศรีนอก สามารถเสนอภาพชีวิตชนบท ด้วยกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่งดงาม เฉียบคมและแยบคาย แฝงไว้ด้วยอารมณ์ขัน มีวิธีล้อเลียนชีวิตอย่างมีชั้นเชิง ให้แง่คิดที่เสียดแทงใจ ผลงานของเขาจึงเป็นเสมือน “ คำร้องทุกข์ ” หรือ “ คำอุทธรณ์ ” ต่อมโนธรรม และจิตสำนึกของคนในสังคม ทำให้ต้องหยุดคิดและตระหนักว่าชีวิตของคนชนบทซึ่งต้องต่อสู้กับภัยรอบด้าน ทั้งที่เป็นภัยธรรมชาติและภัยจากสังคมเมืองนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นชะตากรรมที่ทุกคนมีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน งานวรรณกรรมของ คำสิงห์ ศรีนอก นอกจากจะมีอิทธิพลต่อนักเขียนร่วมสมัยของเขาและนักเขียนรุ่นหลัง ทั้งในด้านความคิด และกลวิธีการประพันธ์แล้ว ยังได้รับความสนใจจากวงการวิชาการทางวรรณกรรมและทางสังคมศาสตร์ทั้งไทยและต่างประเทศ เขาเป็นศิลปินที่สร้างสรรค์งานเพื่อให้ผู้อ่านตรวจสอบตัวเองและสังคมมากกว่ามุ่งเน้นในแง่บันเทิงศิลป์เพียงอย่างเดียว
นายคำสิงห์ ศรีนอก หรือ ลาว คำหอม จึงได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๓๕
นายจำเนียร ศรีไทยพันธ์
นายจำเนียร ศรีไทยพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๖๓ ที่จังหวัดนครปฐม เป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นศิลปินชั้นครู ที่มีความสามารถทางศิลปะการแสดงดนตรีไทยเป็นเลิศ โดยเฉพาะการร้องเพลงไทยและการเล่นเครื่องเป่า (ปี่และขลุ่ย) นับว่าเป็นผู้มีความสามารถสูงยิ่งคนหนึ่ง จนได้รับการยอมรับของวงการดนตรีไทยและนักดนตรีชาวต่างประเทศว่าเป็นเลิศด้านศิลปะการระบายลมในลำคอที่มีเทคนิคต่าง ๆ อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง นอกจากเครื่องเป่าแล้ว นายจำเนียร ศรีไทยพันธ์ ยังสามารถบรรเลงเครื่องดนตรีไทยได้ทุกชนิด ทั้งเครื่องสาย เครื่องตี เครื่องหนัง และสามารถบรรเลงเครื่องเป่าดนตรีสากลได้ เช่น ปี่คลาริแน็ต ทรัมเป็ต ฟลู้ท เป็นต้น ทั้งยังมีความสามารถพิเศษอื่น ๆ อีกมากมาย อาทิการประพันธ์เพลง สามารถประพันธ์เพลงได้ทั้งเพลงไทยเพลงลูกทุ่ง เพลงไทยสากล เพลงมาร์ช สามารถขับเสภา พากย์โขน เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการครอบครูและวิชาการอ่านโองการดนตรีไทย ที่มีลีลาน้ำเสียงนุ่มนวลก้องกังวาล ชวนให้ผู้เข้าร่วมพิธีเข้าถึงความศักดิ์สิทธิ์แห่งดนตรีไทยแก่ศิษย์ด้วยใจรัก มีนิสัยเรียบง่าย สมถะและถ่อมตน
นายจำเนียร ศรีไทยพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๖๓ ที่จังหวัดนครปฐม เป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นศิลปินชั้นครู ที่มีความสามารถทางศิลปะการแสดงดนตรีไทยเป็นเลิศ โดยเฉพาะการร้องเพลงไทยและการเล่นเครื่องเป่า (ปี่และขลุ่ย) นับว่าเป็นผู้มีความสามารถสูงยิ่งคนหนึ่ง จนได้รับการยอมรับของวงการดนตรีไทยและนักดนตรีชาวต่างประเทศว่าเป็นเลิศด้านศิลปะการระบายลมในลำคอที่มีเทคนิคต่าง ๆ อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง นอกจากเครื่องเป่าแล้ว นายจำเนียร ศรีไทยพันธ์ ยังสามารถบรรเลงเครื่องดนตรีไทยได้ทุกชนิด ทั้งเครื่องสาย เครื่องตี เครื่องหนัง และสามารถบรรเลงเครื่องเป่าดนตรีสากลได้ เช่น ปี่คลาริแน็ต ทรัมเป็ต ฟลู้ท เป็นต้น ทั้งยังมีความสามารถพิเศษอื่น ๆ อีกมากมาย อาทิการประพันธ์เพลง สามารถประพันธ์เพลงได้ทั้งเพลงไทยเพลงลูกทุ่ง เพลงไทยสากล เพลงมาร์ช สามารถขับเสภา พากย์โขน เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการครอบครูและวิชาการอ่านโองการดนตรีไทย ที่มีลีลาน้ำเสียงนุ่มนวลก้องกังวาล ชวนให้ผู้เข้าร่วมพิธีเข้าถึงความศักดิ์สิทธิ์แห่งดนตรีไทยแก่ศิษย์ด้วยใจรัก มีนิสัยเรียบง่าย สมถะและถ่อมตน
นายจำเนียร ศรีไทยพันธ์ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๖
นายจุลทัศน์ กิติบุตร
นายจุลทัศน์ กิติบุตร เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๗ ที่จังหวัดเชียงใหม่ สำเร็จการศึกษาปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหลังจบการศึกษาได้กลับไปทำงานในถิ่นกำเนิด ซึ่งมีความงดงามรุ่งเรืองด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนาและได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความเชื่อมั่นศรัทธาอย่างแรงกล้าในการที่จะดำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมล้านนาให้คงอยู่ ผลงานชิ้นเอกที่ทำให้งานสถาปัตยกรรมเปลี่ยนรูปลักษณ์และวิธีการ โดยการนำรูปแบบของพื้นถิ่นล้านนามาใช้เป็นปัจจัยหลักในการออกแบบคือ โรงแรมเดอรีเจนท์ (โฟร์ชีชั่น) อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่การ ออกแบบอาคารทางศาสนาที่วัดอนาลโยทิพยาราม จังหวัดพะเยา และผลงานอื่น ๆ อีกมากว่า ๕๐ แห่ง เคยได้รับรางวัลเกียรติคุณ สถาปนิกผู้มีผลงานดีเด่น ด้านอนุรักษ์เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ดั้งประกาศเป็นนิสิตเก่าผู้สมควรได้รับการเชิดชูจากสมาคมนิสิตเก่า คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับพระราชทานปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตกิติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นสถาปนิกดีเด่นประจำปี ด้านวิชาชีพ จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
นายจุลทัศน์ กิติบุตร เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๗ ที่จังหวัดเชียงใหม่ สำเร็จการศึกษาปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหลังจบการศึกษาได้กลับไปทำงานในถิ่นกำเนิด ซึ่งมีความงดงามรุ่งเรืองด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนาและได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความเชื่อมั่นศรัทธาอย่างแรงกล้าในการที่จะดำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมล้านนาให้คงอยู่ ผลงานชิ้นเอกที่ทำให้งานสถาปัตยกรรมเปลี่ยนรูปลักษณ์และวิธีการ โดยการนำรูปแบบของพื้นถิ่นล้านนามาใช้เป็นปัจจัยหลักในการออกแบบคือ โรงแรมเดอรีเจนท์ (โฟร์ชีชั่น) อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่การ ออกแบบอาคารทางศาสนาที่วัดอนาลโยทิพยาราม จังหวัดพะเยา และผลงานอื่น ๆ อีกมากว่า ๕๐ แห่ง เคยได้รับรางวัลเกียรติคุณ สถาปนิกผู้มีผลงานดีเด่น ด้านอนุรักษ์เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ดั้งประกาศเป็นนิสิตเก่าผู้สมควรได้รับการเชิดชูจากสมาคมนิสิตเก่า คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับพระราชทานปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตกิติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นสถาปนิกดีเด่นประจำปี ด้านวิชาชีพ จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
ปัจจุบัน นายจุลทัศนีย์ กิติบุตร ยังคงสร้างสรรค์ผลงานทางสถาปัตยกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี นอกจากนี้ยังคงทำหน้าที่ถ่ายทอดวิชาความรู้และประสบการณ์ในการออกแบบสถาปัตยกรรมในแนวทางประยุกต์ให้แก่นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตภาคพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ มีผลงานออกแบบได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณชน ทั้งสิ่งพิมพ์ภายในประเทศและต่างประเทศผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมของ นายจุลทัศน์ กิติบุตร แม้ว่าจะอยู่บนรากฐานแห่งสถาปัตยกรรมล้านนา แต่ก็มีความก้าวหน้า มีชีวิตชีวา สอดคล้องกับยุคสมัยและมีพัฒนาการตลอดเวลา เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจากสมาคมในระดับท้องถิ่นและระดับชาติที่สร้างแรงบันดาลใจและแนวทางในการออกแบบหลังในการสร้างสรรค์และสืบทอดภูมิปัญญาสถาปัตยกรรมร่วมสมัยให้เป็นมรดกของชาติสืบไป
นายจุลทัศน์ กิติบุตร จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบร่วมสมัย) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๗
นายเฉลิม นาคีรักษ์
นายเฉลิม นาคีรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๐ ที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญด้านจิตรกรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการศิลปะและศิลปศึกษาโดยทั่วไป มีผลงานดีเด่นทั้งในแบบศิลปะสมัยใหม่และศิลปะแบบประเพณีประยุกต์ ผลงานส่วนใหญ่เกี่ยวกับชีวิตและประเพณีไทยมีความยึดมั่นและศรัทธาในศิลปะได้สร้างสรรค์ผลงานต่อเนื่องกันมาเป็นเวลายาวนานเกือบ ๕๐ ปี มีผลงานแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ เคยได้รับรางวัลในการประกวดศิลปกรรมหลายครั้งและหลายแห่ง ในด้านการถ่ายทอดวิชาความรู้ทางศิลปะนั้น นายเฉลิม นาคีรักษ์ ได้เป็นอาจารย์สอนวิชาศิลปะที่วิทยาลัยเพาะช่างเป็นเวลา ๓๗ ปี มีศิษย์เป็นจำนวนมากทั่วประเทศ ได้รับราชการโดยตลอดมา จนได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยเพาะช่างและเป็นคณบดีคณะศิลปกรรมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเพาะช่าง หรือสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลในปัจจุบัน เมื่อเกษียณอายุราชการแล้ว ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษในสถาบันดังกล่าว นายเฉลิม นาคีรักษ์ ได้นำเอาผลงานศิลปะและวิชาการบริการแก่สังคมตลอดเวลาอันยาวนาน เป็นผู้บุกเบิกศิลปะยุคปัจจุบันคนสำคัญคนหนึ่ง ปัจจุบันนายเฉลิม นาคีรักษ์ เป็นข้าราชการบำนาญ และยังสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอยู่ที่บ้านกรุงเทพมหานคร นับเป็นศิลปินที่ดำรงชีพและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วยจริยวัตรที่ดีงาม นายเฉลิม นาคีรักษ์ สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมา) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๐
นายชาลี อินทรวิจิตร
นายชาลี อินทรวิจิตร เกิดเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๖๖ ที่จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุคลที่สนใจเรื่องเพลงมาแต่เด็ก ทุกครั้งที่มีการจัดงานของวัดต่าง ๆจะต้องไปประกวดร้องเพลงทุกหน และมักจะได้รับรางวัลที่ ๑ อยู่ตลอดมา จากนั้นได้เข้าสู่วงการแสดงละคร วงการนักร้อง วงการภาพยนตร์ ซึ่ง จากประสบการณ์ทำให้มีความสามารถสูงเด่นทั้งเรื่องการร้องเพลง การประพันธ์เพลง การกำกับการแสดงภาพยนตร์โดยเฉพาะด้านการประพันธ์เพลง มีผลงานสร้างสรรค์เกือบ ๑๐๐๐ เพลง ผลงานเพลงที่สร้างชื่อเสียงเป็นอมตะมาจนปัจจุบันมีจำนวนมาก เช่น เพลงสดุดี มหาราชา แสนแสบ ท่าฉลอม สาวนครชัยศรี ทุ่งรวงทอง มนต์รักดอกคำใต้ แม่กลอง ฯลฯ นอกจากจะเป็นผู้ประพันธ์เพลงที่มีความสามารถสูงแล้ว ยังมีผลงานกำกับการแสดงภาพยนตร์ที่มีคุณภาพจำนวนมาก ซึ่งผลการสร้างสรรค์ที่ทำต่อเนื่องอย่างยาวนาน ทำให้ได้รับรางวัลเกียรติยศจำนวนมากทั้งรางวัลตุ๊กตาทองคำ สุพรรณหงษ์ทองคำ รางวัลกิตติคุณสังข์เงิน รางวัลเมขลา รางวัลแผ่นเสียงทองคำ เป็นบุคคลที่สร้างสรรค์งานด้วยศรัทธาในวิชาชีพโดยมิได้คำนึงถึงเรื่องธุรกิจ ให้ความช่วยเหลือบุคคลและสังคมตลอดมา
นายชาลี อินทรวิจิตร เกิดเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๖๖ ที่จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุคลที่สนใจเรื่องเพลงมาแต่เด็ก ทุกครั้งที่มีการจัดงานของวัดต่าง ๆจะต้องไปประกวดร้องเพลงทุกหน และมักจะได้รับรางวัลที่ ๑ อยู่ตลอดมา จากนั้นได้เข้าสู่วงการแสดงละคร วงการนักร้อง วงการภาพยนตร์ ซึ่ง จากประสบการณ์ทำให้มีความสามารถสูงเด่นทั้งเรื่องการร้องเพลง การประพันธ์เพลง การกำกับการแสดงภาพยนตร์โดยเฉพาะด้านการประพันธ์เพลง มีผลงานสร้างสรรค์เกือบ ๑๐๐๐ เพลง ผลงานเพลงที่สร้างชื่อเสียงเป็นอมตะมาจนปัจจุบันมีจำนวนมาก เช่น เพลงสดุดี มหาราชา แสนแสบ ท่าฉลอม สาวนครชัยศรี ทุ่งรวงทอง มนต์รักดอกคำใต้ แม่กลอง ฯลฯ นอกจากจะเป็นผู้ประพันธ์เพลงที่มีความสามารถสูงแล้ว ยังมีผลงานกำกับการแสดงภาพยนตร์ที่มีคุณภาพจำนวนมาก ซึ่งผลการสร้างสรรค์ที่ทำต่อเนื่องอย่างยาวนาน ทำให้ได้รับรางวัลเกียรติยศจำนวนมากทั้งรางวัลตุ๊กตาทองคำ สุพรรณหงษ์ทองคำ รางวัลกิตติคุณสังข์เงิน รางวัลเมขลา รางวัลแผ่นเสียงทองคำ เป็นบุคคลที่สร้างสรรค์งานด้วยศรัทธาในวิชาชีพโดยมิได้คำนึงถึงเรื่องธุรกิจ ให้ความช่วยเหลือบุคคลและสังคมตลอดมา
นายชาลี อินทรวิจิตร จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้ประพันธ์คำร้อง-ผู้กำกับภาพยนตร์) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๖
***********************************************
นายชิต เหรียญประชา
นายชิต เหรียญประชา เกิดวันที่ ๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๕๑ เป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญ และเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมของการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ได้รับการยกย่องในวงการศิลปะว่าเป็นผู้มีความยึดมั่นในการสร้างสรรค์ศิลปะมาเป็นเวลาอันยาวนานถึง ๕๐ ปี นายชิต เหรียญประชา เป็นศิลปินที่มีความเป็นเลิศในด้านการแกะสลักไม้ เป็นผู้ที่มีความสามารถนำเอารูปแบบของศิลปะประเพณีมาผสมกับรูปแบบวิธีการของศิลปะสมัยใหม่ได้เป็นผลสำเร็จ นับว่าท่านเป็นศิลปินผู้บุกเบิกของยุคศิลปะสมัยใหม่ของไทยผู้หนึ่ง ผลงานของท่านได้รับเกียรติแสดงในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ การแสดงศิลปะร่วมสมัยของไทยในประเทศและมีติดตั้งแสดงถาวรในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ แม้ว่าจะอยู่ในวัยชราท่านยังคงสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอย่างไม่หยุดยั้ง มหาวิทยาลัยศิลปากรเห็นความสำคัญในผลงานของ ชิต เหรียญประชา จึงได้จัดแสดงผลงาน จำนวน ๓๑ ชิ้น เพื่อเป็นเกียรติและเป็นการเผยแพร่ผลงานแก่ประชาชน ที่หอศิลป์ของมหาวิทยาลัย นายชิต เหรียญประชา ได้ดำเนินชีวิตและสร้างสรรค์ผลงานเป็นประโยชน์และเป็นตัวอย่างที่ดีทั้งในฐานะบุคคลและศิลปิน
นายชิต เหรียญประชา เกิดวันที่ ๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๕๑ เป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญ และเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมของการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ได้รับการยกย่องในวงการศิลปะว่าเป็นผู้มีความยึดมั่นในการสร้างสรรค์ศิลปะมาเป็นเวลาอันยาวนานถึง ๕๐ ปี นายชิต เหรียญประชา เป็นศิลปินที่มีความเป็นเลิศในด้านการแกะสลักไม้ เป็นผู้ที่มีความสามารถนำเอารูปแบบของศิลปะประเพณีมาผสมกับรูปแบบวิธีการของศิลปะสมัยใหม่ได้เป็นผลสำเร็จ นับว่าท่านเป็นศิลปินผู้บุกเบิกของยุคศิลปะสมัยใหม่ของไทยผู้หนึ่ง ผลงานของท่านได้รับเกียรติแสดงในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ การแสดงศิลปะร่วมสมัยของไทยในประเทศและมีติดตั้งแสดงถาวรในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ แม้ว่าจะอยู่ในวัยชราท่านยังคงสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอย่างไม่หยุดยั้ง มหาวิทยาลัยศิลปากรเห็นความสำคัญในผลงานของ ชิต เหรียญประชา จึงได้จัดแสดงผลงาน จำนวน ๓๑ ชิ้น เพื่อเป็นเกียรติและเป็นการเผยแพร่ผลงานแก่ประชาชน ที่หอศิลป์ของมหาวิทยาลัย นายชิต เหรียญประชา ได้ดำเนินชีวิตและสร้างสรรค์ผลงานเป็นประโยชน์และเป็นตัวอย่างที่ดีทั้งในฐานะบุคคลและศิลปิน
นายชิต เหรียญประชา สมควรที่จะได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๐
นายไชยลังกา เครือเสน
นายไชยลังกา เครือเสน เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๔๔๗ เป็นศิลปินอาวุโสด้านดนตรีพื้นบ้าน และการขับซอ ซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านที่เลื่องชื่อลือชา ไปทั่วภาคเหนือ มีชื่อเสียงดีเด่นในการแสดงดนตรี และการขับซอพื้นเมืองมาแล้วกว่า ๖๐ ปี มีประสบการณ์ในการแสดงมากมาย และเป็นที่ยอมรับกันไปทั่วว่า นายไชยลังกา เครือเสน เป็นศิลปินที่สุขุม สุภาพมีมารยาทในการแสดงอย่างยิ่ง ท่านได้เริ่มการแสดงตั้งแต่อายุ ๑๑ ปี และเริ่มการถ่ายถอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์ผู้สนใจมาตั้งแต่อายุ ๓๒ ปี ได้รับคำยกย่องให้เป็น “พ่อครู” ทำการสอนและเผยแพร่ผลงานอย่างต่อเนื่อง ด้วยความอุตสาหะวิริยะเป็นอย่างยิ่ง สามารถประดิษฐ์เครื่องดนตรีพื้นบ้านเมืองเหนือได้หลายชนิด และเป็นพ่อครูคนเดียวที่มีความรู้ทางอักษรศาสตร์ สามารถแต่งบทซอเป็นลายลักษณ์อักษรได้เป็นอย่างดีเลิศ เป็นผู้ประดิษฐ์คำร้องและทำนองซอปั่นฝ้ายได้ขณะมีอายุ ๓๔ ปี และเป็นที่ยอมรับนับถือใช้สืบมา นายไชยลังกา เครือเสน เคยชนะเลิศการประกวดดนตรีพื้นบ้านจังหวัดน่าน เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๗ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมสาขาศิลปะ (ดนตรีพื้นบ้าน) ของภาคเหนือประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๐
นายไชยลังกา เครือเสน เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๔๔๗ เป็นศิลปินอาวุโสด้านดนตรีพื้นบ้าน และการขับซอ ซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านที่เลื่องชื่อลือชา ไปทั่วภาคเหนือ มีชื่อเสียงดีเด่นในการแสดงดนตรี และการขับซอพื้นเมืองมาแล้วกว่า ๖๐ ปี มีประสบการณ์ในการแสดงมากมาย และเป็นที่ยอมรับกันไปทั่วว่า นายไชยลังกา เครือเสน เป็นศิลปินที่สุขุม สุภาพมีมารยาทในการแสดงอย่างยิ่ง ท่านได้เริ่มการแสดงตั้งแต่อายุ ๑๑ ปี และเริ่มการถ่ายถอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์ผู้สนใจมาตั้งแต่อายุ ๓๒ ปี ได้รับคำยกย่องให้เป็น “พ่อครู” ทำการสอนและเผยแพร่ผลงานอย่างต่อเนื่อง ด้วยความอุตสาหะวิริยะเป็นอย่างยิ่ง สามารถประดิษฐ์เครื่องดนตรีพื้นบ้านเมืองเหนือได้หลายชนิด และเป็นพ่อครูคนเดียวที่มีความรู้ทางอักษรศาสตร์ สามารถแต่งบทซอเป็นลายลักษณ์อักษรได้เป็นอย่างดีเลิศ เป็นผู้ประดิษฐ์คำร้องและทำนองซอปั่นฝ้ายได้ขณะมีอายุ ๓๔ ปี และเป็นที่ยอมรับนับถือใช้สืบมา นายไชยลังกา เครือเสน เคยชนะเลิศการประกวดดนตรีพื้นบ้านจังหวัดน่าน เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๗ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมสาขาศิลปะ (ดนตรีพื้นบ้าน) ของภาคเหนือประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๐
นายไชยลังกา เครือเสน สมควรได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๓๐
นายทวี นันทขว้าง
นายทวี นันทขว้าง เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๘ ที่จังหวัดลำพูน เป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญด้านจิตกรรม ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการศิลปะและศิลปศึกษาโดยทั่วไปได้สร้างสรรค์ผลงานจิตกรรมไว้เป็นจำนวนมาก ได้รับรางวัลเกียรตินิยมเหรียญทองหลายครั้งและได้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยมจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ เป็นผู้หนึ่งที่บุกเบิกงานด้านจิตกรรมที่มีอิทธิพลแก่ยุวศิลปินอีกหลายคน ในด้านวิชาการนั้นเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยศิลปากรจนเกษียณอายุราชการ เป็นศิลปินที่ไม่ยอมหยุดนิ่ง ได้พัฒนาและคลี่คลายผลงานอยู่ตลอดเวลา มีผลงานการสร้างสรรค์ที่ผสมผสานระหว่างแบบเหมือนจริงกับแบบเหนือจริงตามแบบของตนเองอันเป็นคุณลักษณะพิเศษในเรื่องความงามและความรู้สึกซึ่งรังสรรค์ขึ้นมาจาก จินตนาการที่สร้างสรรค์อย่างอิสระ ผลงานในช่วงหลังจนถึงปัจจุบันไม่ผาดโผนเป็นไปอย่างเรียบ ๆ แต่มีความประณีต ลึกซึ้ง มีสมาธิ วุฒิภาวะและมีความมั่นใจ ถึงแม้จะไม่ไปข้างหน้าแต่ก็ไปทางลึกและทางสงบ ได้ใช้ผลงานศิลปะและวิชาการบริการสังคมมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน และยังคงสร้างสรรค์ผลงานอยู่ตลอดเวลา นับว่าเป็นศิลปินผู้มีคุณสมบัติเพียบพร้อมทุกประการ เป็นแบบอย่างที่ดียิ่งแก่อนุชนรุ่นหลัง
นายทวี นันทขว้าง เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๘ ที่จังหวัดลำพูน เป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญด้านจิตกรรม ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการศิลปะและศิลปศึกษาโดยทั่วไปได้สร้างสรรค์ผลงานจิตกรรมไว้เป็นจำนวนมาก ได้รับรางวัลเกียรตินิยมเหรียญทองหลายครั้งและได้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยมจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ เป็นผู้หนึ่งที่บุกเบิกงานด้านจิตกรรมที่มีอิทธิพลแก่ยุวศิลปินอีกหลายคน ในด้านวิชาการนั้นเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยศิลปากรจนเกษียณอายุราชการ เป็นศิลปินที่ไม่ยอมหยุดนิ่ง ได้พัฒนาและคลี่คลายผลงานอยู่ตลอดเวลา มีผลงานการสร้างสรรค์ที่ผสมผสานระหว่างแบบเหมือนจริงกับแบบเหนือจริงตามแบบของตนเองอันเป็นคุณลักษณะพิเศษในเรื่องความงามและความรู้สึกซึ่งรังสรรค์ขึ้นมาจาก จินตนาการที่สร้างสรรค์อย่างอิสระ ผลงานในช่วงหลังจนถึงปัจจุบันไม่ผาดโผนเป็นไปอย่างเรียบ ๆ แต่มีความประณีต ลึกซึ้ง มีสมาธิ วุฒิภาวะและมีความมั่นใจ ถึงแม้จะไม่ไปข้างหน้าแต่ก็ไปทางลึกและทางสงบ ได้ใช้ผลงานศิลปะและวิชาการบริการสังคมมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน และยังคงสร้างสรรค์ผลงานอยู่ตลอดเวลา นับว่าเป็นศิลปินผู้มีคุณสมบัติเพียบพร้อมทุกประการ เป็นแบบอย่างที่ดียิ่งแก่อนุชนรุ่นหลัง
นายทวี นันทขว้าง จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์(จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๓
นายทองมาก จันทะลือ
นายทองมาก จันทะลือ เป็นศิลปินหมอลำที่มีหมอลำผลงานการแสดงดีเด่น เป็นที่รู้จักและยอมรับกันทั่วไปในภาคอีสาน ได้ศึกษาการเล่นหมอลำจากครูหมอลำหลายท่านด้วยความอุตสาหะและใฝ่รู้ จนสามารถชนะเลิศการประกวดหมอลำหลายครั้ง ในการแสดงหลอลำแต่ละครั้งได้พยายามสอดแทรกวิชาเกษตรกรรม และรณรงค์การรู้หนังสือสนับสนุนนโยบายของรัฐไปด้วย จนได้รับรางวัลดีเด่นการผลิตผลงานเพื่อเยาวชนประเภทสื่อชาวบ้าน ได้อุทิศตนเพื่องานสังคมมาโดยตลอด เป็นวิทยากรพิเศษบรรยายเกี่ยวกับถ่ายทอดวิชาการเล่นหมอลำ ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีสานให้แก่ลูกศิษย์มากกว่า ๓๐๐ คณะ ทั่วภาคอีสาน นับว่านายทองมาก จันทะลือ เป็นศิลปินหมอลำที่สมควรยกย่องไว้ในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๒๙
นายทองมาก จันทะลือ เป็นศิลปินหมอลำที่มีหมอลำผลงานการแสดงดีเด่น เป็นที่รู้จักและยอมรับกันทั่วไปในภาคอีสาน ได้ศึกษาการเล่นหมอลำจากครูหมอลำหลายท่านด้วยความอุตสาหะและใฝ่รู้ จนสามารถชนะเลิศการประกวดหมอลำหลายครั้ง ในการแสดงหลอลำแต่ละครั้งได้พยายามสอดแทรกวิชาเกษตรกรรม และรณรงค์การรู้หนังสือสนับสนุนนโยบายของรัฐไปด้วย จนได้รับรางวัลดีเด่นการผลิตผลงานเพื่อเยาวชนประเภทสื่อชาวบ้าน ได้อุทิศตนเพื่องานสังคมมาโดยตลอด เป็นวิทยากรพิเศษบรรยายเกี่ยวกับถ่ายทอดวิชาการเล่นหมอลำ ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีสานให้แก่ลูกศิษย์มากกว่า ๓๐๐ คณะ ทั่วภาคอีสาน นับว่านายทองมาก จันทะลือ เป็นศิลปินหมอลำที่สมควรยกย่องไว้ในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๒๙
นายนิธิ สถาปิตานนท์
นายนิธิ สถาปิตานนท์ เกิดเมื่อ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ที่กรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาปัตยกรรมศาตร์มหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
นายนิธิ สถาปิตานนท์ เกิดเมื่อ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ที่กรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาปัตยกรรมศาตร์มหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
นายนิธิ สถาปิตานนท์ เป็นสถาปนิกที่มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานด้านสถาปัตยกรรม และอุดมการณ์ที่แน่วแน่ว่า จะพัฒนาวิชาชีพและผลงานสถาปัตยกรรมนี้ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป ได้สนับสนุนให้สถาปนิกมีโอกาสได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่า ด้วยตระหนักอยู่เสมอว่างานสถาปัตยกรรมจะเป็นมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมที่สำคัญที่บ่งบอกถึงภูมิปัญญาของชนในชาติตลอดไป ท่านได้สร้างสรรค์ผลงานสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลากว่า ๓๐ ปีได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีเอกลักษณ์ในงานสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัยและงานสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย และงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นทีโดดเด่นหลายชิ้น มีการนำระบบและเทคโนโลยีแบบตะวันตกมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอยมากที่สุด เช่น อาคารกระทรวงการต่างประเทศ ที่ถนนศรีอยุธยา, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่จังหวัดเชียงราย, เจดีย์หลวงปู่ชา ที่จังหวัดอุบลราชธานี, วัดป่าสุนันทวนารามที่จังหวัดกาญจนบุรี ฯลฯ
นายนิธิ สถาปิตานนท์ ได้รับพระราชทานรางวัลผลงานสถาปัตยกรรมดีเด่น (เหรียญทอง) ๔ ครั้ง จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และรางวัลชนะเลิศการประกวดแบบทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๗ จนถึงปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ ได้เขียนหนังสือบทความทางวิทยาการเกี่ยวกับวิชาชีพสถาปัตยกรรมเผยแพร่ในโอกาสต่างๆ อีกด้วยได้รับเกียรติเป็นนายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมป์,เลขาธิการสภาสถาปนิก, เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ The Japan Institute of Architects ฯลฯ ตลอดจนเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ที่จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น นับได้ว่าท่านเป็นผู้ที่มีผลงานออกแบบด้านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ที่มีคุณค่าและมีความโดดเด่น เป็นที่ยอมรับของสถาปนิก และบุคคลทั่วไปอันเป็นแบบอย่างแก่อนุชนได้ศึกษาต่อไป
นายนิธิ สถาปิตานนท์ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบร่วมสมัย) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๕
นายประดิษฐ์ ยุวะพุกกะ
นายประดิษฐ์ ยุวะพุกกะ เกิดเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๖๕ ที่ตำบลบางลำพู อำเภอพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษาช่างออกแบบและตกแต่ง จากโรงเรียนศิลปากร ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๔ เริ่มรับราชการครั้งแรกในตำแหน่งช่างออกแบบและตกแต่งกองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร โดยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสำรวจ ตกแต่ง บูรณะโบราณสถาน พระอาราม พระบรมมหาราชวัง และอาคารที่ทำการรัฐบาล ประกอบกับได้รับการถ่ายทอดความเป็นศิลปินจากคุณตา คือ พระยาจินดารังสรรค์ และคุณพ่อ คือ หลวงวัฒนศิลป์ ซึ่งเป็นช่างด้านศิลปะสถาปัตยกรรม ที่มีฝีมือสูงเด่นทำให้นายประดิษฐ์ ยุวะพุกกะ มีความรู้ความชำนาญทางด้านการออกแบบและตกแต่งเจดีย์ อุโบสถ ศาลาอเนกประสงค์ กำแพง ซุ้มประตู นอกจากนั้นยังมีผลงานการเขียนลวดลายบนบานประตู ฝาผนัง แกะสลักหยวกตกแต่งจิตกาธาน จากผลงานที่ท่านได้สร้างมาทำให้ได้รับการยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคลด้านสถาปัตยกรรมไทย เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
นายประดิษฐ์ ยุวะพุกกะ เกิดเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๖๕ ที่ตำบลบางลำพู อำเภอพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษาช่างออกแบบและตกแต่ง จากโรงเรียนศิลปากร ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๔ เริ่มรับราชการครั้งแรกในตำแหน่งช่างออกแบบและตกแต่งกองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร โดยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสำรวจ ตกแต่ง บูรณะโบราณสถาน พระอาราม พระบรมมหาราชวัง และอาคารที่ทำการรัฐบาล ประกอบกับได้รับการถ่ายทอดความเป็นศิลปินจากคุณตา คือ พระยาจินดารังสรรค์ และคุณพ่อ คือ หลวงวัฒนศิลป์ ซึ่งเป็นช่างด้านศิลปะสถาปัตยกรรม ที่มีฝีมือสูงเด่นทำให้นายประดิษฐ์ ยุวะพุกกะ มีความรู้ความชำนาญทางด้านการออกแบบและตกแต่งเจดีย์ อุโบสถ ศาลาอเนกประสงค์ กำแพง ซุ้มประตู นอกจากนั้นยังมีผลงานการเขียนลวดลายบนบานประตู ฝาผนัง แกะสลักหยวกตกแต่งจิตกาธาน จากผลงานที่ท่านได้สร้างมาทำให้ได้รับการยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคลด้านสถาปัตยกรรมไทย เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
นายประดิษฐ์ ยุวะพุกกะ ได้สร้างสรรค์ผลงานไว้มากมายในระหว่างที่ท่านได้รับราชการจนถึงปัจจุบัน ผลงานของท่านที่โดดเด่น อาทิ พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์ วัดญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี พระอุโบสถ วัดป่านางสีดา จังหวัดอุดรธานี พระอุโบสถ ศาลาอเนกประสงค์ ศาลาสวดพระอภิธรรม หอไตร ซุ้มกำแพง วัดพุทธภาวนา จังหวัดสมุทรปราการ ฯลฯ ผลงานสถาปัตยกรรมที่ท่านได้สร้างสรรค์ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ล้วนเป็นผลงานที่มีการพัฒนา มีการอนุรักษ์ มีการสืบสาน และมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและของประเทศชาติ เป็นที่ยอมรับในวงการช่างวิชาชีพและประชาชน ท่านเป็นผู้ที่ทำงานศิลปะเพื่อศิลปะโดยแท้ มีผลงานที่งดงามเหมาะสมที่จะเป็นแบบอย่างให้อนุชนรุ่นหลังได้ดำเนินรอยตาม เพื่อสืบสานงานสถาปัตยกรรมแบบประเพณีให้ดำรงอยู่สืบไป
นายประดิษฐ์ ยุวะพุกกะ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม(แบบประเพณี) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๔
นายประเวศ ลิมปรังษี
นายประเวศ ลิมปรังษี เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๓ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งแต่เริ่มรับราชการจนดำรงตำแหน่งผู้ราชการจนดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (สถาปนิก ๙) ด้านบูรณะปฏิสังขรณ์ กรมศิลปากรในปัจจุบัน กรมศิลปากร ในปัจจุบัน ได้สร้างสรรค์ผลงานด้านสถาปัตยกรรมที่ดีเด่นจนได้รับการยกย่องจำนวนมากมาเป็นเวลายาวนานกว่า ๓๐ ปี เป็นสถาปนิกที่มีความเป็นเลิศในการออกแบบผูกลายไทยได้งดงามยิ่ง มีผลงานที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ ผลงานเด่นๆ มีเช่น การออกแบบพระอุโบสถวัดพุทธประทีป ณ มหานครลอนดอน พลับพลาพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบรมมหากษัตริยาธิราช ณ ท้องสนามหลวงพระเมรุมาศพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี และบูรณะพระธาตุพนม เป็นต้น ท่านได้รับปริญญาดุษฎีบันฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิจิตรศิลป์ จากมหาวิทยาลัยเคลตัน (CLAYTON) ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๙ ปัจจุบันได้ดำรงชีวิตและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสถาปัตยกรรมไทย เพื่อประโยชน์ส่วนรวม มีผลงานชั้นเยี่ยมที่เป็นศักดิ์ศรีของชาติ
นายประเวศ ลิมปรังษี เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๓ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งแต่เริ่มรับราชการจนดำรงตำแหน่งผู้ราชการจนดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (สถาปนิก ๙) ด้านบูรณะปฏิสังขรณ์ กรมศิลปากรในปัจจุบัน กรมศิลปากร ในปัจจุบัน ได้สร้างสรรค์ผลงานด้านสถาปัตยกรรมที่ดีเด่นจนได้รับการยกย่องจำนวนมากมาเป็นเวลายาวนานกว่า ๓๐ ปี เป็นสถาปนิกที่มีความเป็นเลิศในการออกแบบผูกลายไทยได้งดงามยิ่ง มีผลงานที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ ผลงานเด่นๆ มีเช่น การออกแบบพระอุโบสถวัดพุทธประทีป ณ มหานครลอนดอน พลับพลาพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบรมมหากษัตริยาธิราช ณ ท้องสนามหลวงพระเมรุมาศพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี และบูรณะพระธาตุพนม เป็นต้น ท่านได้รับปริญญาดุษฎีบันฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิจิตรศิลป์ จากมหาวิทยาลัยเคลตัน (CLAYTON) ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๙ ปัจจุบันได้ดำรงชีวิตและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสถาปัตยกรรมไทย เพื่อประโยชน์ส่วนรวม มีผลงานชั้นเยี่ยมที่เป็นศักดิ์ศรีของชาติ
นายประเวศ ลิมปรังษี จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๒
นายพูน เกษจำรัส
นายพูน เกษจำรัส เกิดวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๖๔ ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญด้านศิลปะถ่ายภาพซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการศิลปะภาพถ่ายโดยทั่วไป มีผลงานดีเด่นและแพร่หลายเป็นเวลายาวนานเกือบ ๔๐ ปี จากผลงานภาพถ่ายศิลปะเหล่านี้ทำให้นายพูน เกษจำรัส ได้รับเกียรตินิยมจากสมาคมภาพถ่ายแห่งประเทศไทย สมาคมสโมสรสยามคัลเลอร์สไลด์ และสหพันธ์ศิลปะการถ่ายภาพนานาชาติประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นนายกสมาคมและที่ปรึกษาสมาคมภาพถ่ายแห่งประเทศไทยได้รับเชิญแสดงผลงานในการแสดงภาพถ่ายของสมาคมถ่ายภาพ และการแสดงภาพเขียนและภาพถ่ายของอาเซียน ในด้านการถ่ายทอดวิชาความรู้ทางศิลปะภาพถ่ายนั้น นายพูน เกษจำรัส ได้เป็นอาจารย์สอนภาพถ่ายที่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ เป็นเวลาเกือบ ๔๐ ปี มีศิษย์เป็นจำนวนมากทั่วประเทศได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะวิชาช่างภาพ และช่างพิมพ์จนเกษียณอายุราชการ ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษของวิทยาลัยเทคโนโลยี และอาชีวศึกษา วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ หรือสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลในปัจจุบัน นายพูน เกษจำรัส เป็นศิลปินที่มีบทบาทและให้บริการแก่สังคมอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังได้เผยแพร่ศิลปะและวิทยาการภาพถ่ายทางสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า ๒๐ ปี นายพูน เกษจำรัส ดำรงชีวิตและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และเข้าร่วมกิจกรรมศิลปะและสังคมอย่างดีงาม เป็นตัวอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง
นายพูน เกษจำรัส เกิดวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๖๔ ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญด้านศิลปะถ่ายภาพซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการศิลปะภาพถ่ายโดยทั่วไป มีผลงานดีเด่นและแพร่หลายเป็นเวลายาวนานเกือบ ๔๐ ปี จากผลงานภาพถ่ายศิลปะเหล่านี้ทำให้นายพูน เกษจำรัส ได้รับเกียรตินิยมจากสมาคมภาพถ่ายแห่งประเทศไทย สมาคมสโมสรสยามคัลเลอร์สไลด์ และสหพันธ์ศิลปะการถ่ายภาพนานาชาติประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นนายกสมาคมและที่ปรึกษาสมาคมภาพถ่ายแห่งประเทศไทยได้รับเชิญแสดงผลงานในการแสดงภาพถ่ายของสมาคมถ่ายภาพ และการแสดงภาพเขียนและภาพถ่ายของอาเซียน ในด้านการถ่ายทอดวิชาความรู้ทางศิลปะภาพถ่ายนั้น นายพูน เกษจำรัส ได้เป็นอาจารย์สอนภาพถ่ายที่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ เป็นเวลาเกือบ ๔๐ ปี มีศิษย์เป็นจำนวนมากทั่วประเทศได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะวิชาช่างภาพ และช่างพิมพ์จนเกษียณอายุราชการ ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษของวิทยาลัยเทคโนโลยี และอาชีวศึกษา วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ หรือสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลในปัจจุบัน นายพูน เกษจำรัส เป็นศิลปินที่มีบทบาทและให้บริการแก่สังคมอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังได้เผยแพร่ศิลปะและวิทยาการภาพถ่ายทางสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า ๒๐ ปี นายพูน เกษจำรัส ดำรงชีวิตและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และเข้าร่วมกิจกรรมศิลปะและสังคมอย่างดีงาม เป็นตัวอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง
นายพูน เกษจำรัส สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ศิลปะภาพถ่าย) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๑
นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์
นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ( ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ) เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๔๖๕ เป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญในด้านประติมากรรม ที่มีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับในวงการศิลปะและทั่วไป ได้สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมทั้งที่เป็นงานศิลปะแบบปัจจุบัน และประเพณีไว้มากมาย ได้ส่งผลงานเข้าร่วมแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ได้รับรางวัลเกียรตินิยมเหรียญทองหลายครั้ง และได้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าปฏิบัติราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณ ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๘ ได้รับราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณจนเกษียณอายุราชการ ผลงานประติมากรรมมีแสดงถาวรอยู่ในพิพิธภัณฑสถานทั้งในประเทศและต่างประเทศผลงานประติมากรรมแบบปัจจุบันเป็นผลงานบุกเบิกในแนวทางสัจจะนิยมของประเทศไทยและผลงานประเพณีเป็นการอนุรักษ์และสืบต่อศิลปะแบบประเพณีของชาติ ในด้านวิชาการนั้นได้เป็นอาจารย์สอนวิชาประติมากรรมในยุคบุกเบิกและก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๘๖ และยังทำหน้าที่นี้อยู่ในฐานะอาจารย์พิเศษ ด้วยบทบาทที่สำคัญในด้านวิชาการนี้ จึงได้รับปริญญาศิลปะดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากรด้วยความสามารถดีเด่น จึงได้รับเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๒๙
นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ( ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ) เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๔๖๕ เป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญในด้านประติมากรรม ที่มีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับในวงการศิลปะและทั่วไป ได้สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมทั้งที่เป็นงานศิลปะแบบปัจจุบัน และประเพณีไว้มากมาย ได้ส่งผลงานเข้าร่วมแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ได้รับรางวัลเกียรตินิยมเหรียญทองหลายครั้ง และได้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าปฏิบัติราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณ ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๘ ได้รับราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณจนเกษียณอายุราชการ ผลงานประติมากรรมมีแสดงถาวรอยู่ในพิพิธภัณฑสถานทั้งในประเทศและต่างประเทศผลงานประติมากรรมแบบปัจจุบันเป็นผลงานบุกเบิกในแนวทางสัจจะนิยมของประเทศไทยและผลงานประเพณีเป็นการอนุรักษ์และสืบต่อศิลปะแบบประเพณีของชาติ ในด้านวิชาการนั้นได้เป็นอาจารย์สอนวิชาประติมากรรมในยุคบุกเบิกและก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๘๖ และยังทำหน้าที่นี้อยู่ในฐานะอาจารย์พิเศษ ด้วยบทบาทที่สำคัญในด้านวิชาการนี้ จึงได้รับปริญญาศิลปะดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากรด้วยความสามารถดีเด่น จึงได้รับเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๒๙
นายไพรัช สังวริบุตร
นายไพรัช สังวริบุตร เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๔ ที่กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ที่มีความสามารถผลิตผลงานศิลปะทางด้านภาพยนตร์โทรทัศน์และละครต่อเนื่องเป็นเวลากว่า ๔๐ ปี เป็นผู้ที่มุ่งมั่นและพัฒนาผลงานที่มีรูปแบบเฉพาะตนที่ชัดเจนมีเนื้อหาที่เอื้อต่อการพัฒนาสังคม
นายไพรัช สังวริบุตร เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๔ ที่กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ที่มีความสามารถผลิตผลงานศิลปะทางด้านภาพยนตร์โทรทัศน์และละครต่อเนื่องเป็นเวลากว่า ๔๐ ปี เป็นผู้ที่มุ่งมั่นและพัฒนาผลงานที่มีรูปแบบเฉพาะตนที่ชัดเจนมีเนื้อหาที่เอื้อต่อการพัฒนาสังคม
นายไพรัช สังวริบุตร มีผลงานด้านการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ในการนำเอาเนื้อเรื่องในวรรณคดีพื้นบ้านมาพัฒนาเป็นสื่อสมัยใหม่ สร้างเป็นละครเผยแพร่ทางโทรทัศน์ผลงานด้านสุนทรียภาพก็ได้มีการพัฒนาบทละครให้ประณีตขึ้น และงานด้านศิลปะการแสดง ได้มีการใช้เทคนิคการถ่ายทำใหม่ ๆ มีการออกแบบเครื่องแต่งกาย และการวิจัยพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อให้วงการธุรกิจด้านละครโทรทัศน์ยั่งยืน ซึ่งตลอดเวลาที่ นายไพรัช สังวริบุตร ผลิตผลงานออกสู่สาธารณชน ได้รับการตอบรับอย่างน่าชื่นชม อีกทั้งรางวัลจากการสร้างสรรค์ผลงาน นับตั้งแต่รางวัลตุ๊กตาทองในฐานะผู้ถ่ายทำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เรื่อง “แสงสูรย์” รางวัลตุ๊กตาทองในฐานะถ่ายภาพยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง “นางสาวโพระดก” “ทับสมิงคลา” และ “เสน่ห์บางกอก”จนถึงละครอิงประวัติศาสตร์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงจากประชาชน เช่น เรื่อง “สายโลหิต” “ฟ้าใหม่” และอื่น ๆ กว่า ๑๐๐ เรื่อง นับเป็นการยืนยันถึงประสิทธิภาพการทำงานได้เป็นอย่างดีและเป็นตัวอย่างที่ดีในวงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นผู้โอบอ้อมอารีและเอื้ออาทรต่อมิตรสหาย ลูกศิษย์ เพื่อนร่วมงานซึ่งบุคคลใดได้ร่วมทำงานด้วยก็จะได้รับอานิสงส์ทางด้านภูมิปัญญาของท่านสามารถนำไปพัฒนาตนเองเพื่อประกอบอาชีพ อันเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาให้ยั่งยืนต่อไป อีกทั้งเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องในฐานะครูของวงการอย่างต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน
นายไพรัช สังวริบุตร จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละคร) ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๔๗
นายเฟื้อ หริพิทักษ์
นายเฟื้อ หริพิทักษ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นศิลปินและจิตรกร ผู้ได้รับการยกย่องเป็น “ครูใหญ่ในวงการศิลปะ” ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖
นายเฟื้อ หริพิทักษ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นศิลปินและจิตรกร ผู้ได้รับการยกย่องเป็น “ครูใหญ่ในวงการศิลปะ” ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖
นายเฟื้อ หริพิทักษ์ เกิดเมื่อ ๒๒ เม.ย.๒๔๕๓ ที่จังหวัดธนบุรี ต่อมา พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้เข้ารับการศึกษาระดับประถมศึกษาที่วัดสุทัศน์ และระดับมัธยมที่โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร และวัดเบญจมบพิตร เข้าทำงานที่วิทยาลัยช่างศิลป์ กรมศิลปากร จากนั้น พ.ศ. ๒๔๘๓ ได้เดินทางไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยวิศวะ – ภารติ ที่ประเทศอินเดีย รับราชการเป็นอาจารย์สอนศิลปะรุ่นแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร และได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศอิตาลี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมจนได้รับการยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมสาขาจิตรกรรม
นายเฟื้อ หริพิทักษ์ เป็นผู้สนใจศึกษาศิลปะอย่างมุ่งมั่นลึกซึ้ง ด้วยการค้นหาแนวทางสร้างสรรค์ให้เหมาะกับการแสดงออกทางด้านจิตรกรรม ที่มีลักษณะเฉพาะตนโดยการถ่ายทอดสภาพแวดล้อม บรรยากาศ แสงเงา ประกอบกับความคิดคำนึงเรื่องสีสันที่เป็นลักษณะตามสายสกุลศิลปะยุโรป (อิตาลี) ใช้ฝีแปรงที่ฉับพลัน ดังปรากฏในผลงานจิตรกรรมมากมาย อาทิ จิตรกรรมทิวทัศน์เมืองเวนิชที่อิตาลี ทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ ภาพเหมือนคุณยายของฉัน ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ฯลฯ
นอกจากนี้ นายเฟื้อ หริพิทักษ์ ยังทำการสำรวจโดยคัดลอกจิตรกรรมฝาผนังตามวัดสำคัญที่เป็นโบราณสถานเก็บไว้เป็นหลักฐานมรดกทางประวัติศาสตร์ศิลปะของชาติ มีผลงานซ่อมแซมภาพจิตรกรรมสำคัญในวัดทั่วประเทศไทยทั้งสิ้น ๒๓,๐๐๐ วัด ผลงานที่สำคัญชิ้นหนึ่ง คือการบูรณะปฏิสังขรณ์หอไตรปิฎก วัดระฆังโฆสิตาราม
เกียรติยศศิลปินชั้นเยี่ยม สาขาจิตรกรรม ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ และ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. ๒๕๒๘
ครูมนตรี ตราโมท
ครูมนตรี ตราโมท เป็นบุตรนายยิ้ม และนางทองอยู่ เกิดที่บ้านท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2443 เดิมชื่อ "บุญธรรม" ครูมนตรี มีฝีมือทางการบรรเลงฆ้องวง แต่เพื่อให้ท่านมีฝีมือในเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เจ้ากรมพิณพาทย์หลวง จึงให้ครูมนตรีเปลี่ยนเป็นครูตีระนาดทุ้มหน้าที่การงานของครูมนตรี เจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับจนเลื่อนเป็นชั้นเอก ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งศิลปินพิเศษ เมื่อ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 นับเป็นศิลปินคนแรกของกรมศิลปากรที่ได้รับชั้นพิเศษ
ครูมนตรี ตราโมท เป็นบุตรนายยิ้ม และนางทองอยู่ เกิดที่บ้านท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2443 เดิมชื่อ "บุญธรรม" ครูมนตรี มีฝีมือทางการบรรเลงฆ้องวง แต่เพื่อให้ท่านมีฝีมือในเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เจ้ากรมพิณพาทย์หลวง จึงให้ครูมนตรีเปลี่ยนเป็นครูตีระนาดทุ้มหน้าที่การงานของครูมนตรี เจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับจนเลื่อนเป็นชั้นเอก ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งศิลปินพิเศษ เมื่อ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 นับเป็นศิลปินคนแรกของกรมศิลปากรที่ได้รับชั้นพิเศษ
เมื่อท่านเกษียณอายุ กรมศิลปากรพิจารณาเห็นว่าท่านมีความรู้ ความสามารถในด้านวิชาการศิลปดุริยางค์ไทย จึงจ้างไว้ช่วยราชการต่อมาอีก 5 ปี จากนั้นก็จ้างในฐานะลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยกับคีตศิลป์ไทย ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร
นอกจากการทำงานประจำในหน้าที่ที่กรมศิลปากรแล้ว ท่านยังเป็นอาจารย์พิเศษสอนตามมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง ท่านได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตในประเภทวิจิตรศิลป์ สำนักศิลปกรรม ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2524
ผลงาน
นอกจากท่านจะมีฝีมือในการบรรเลงดนตรีแล้ว ท่านยังมีความสามารถในการแต่งเพลงอีกด้วย ท่านแต่งเพลงมาแล้วมากมาย มากกว่า 200 เพลง ตั้งแต่ พ.ศ. 2463 เป็นต้นมา มีทั้งเพลง 3 ชั้น เพลงเถา เพลงประวัติศาสตร์ เพลงระบำและเพลงเบ็ดเตล็ด เคยมีผู้รวบรวมไว้ได้ถึง 200 กว่าเพลง
นอกจากท่านจะแต่งเพลงดังกล่าวมาแล้ว ท่านยังเคยแต่งเพลงประกวดทั้งบทร้องและทำนองเพลงและได้รับรางวัล 1 เพลงนั้นชื่อว่า "เพลงวันชาติ" เมื่อ พ.ศ. 2483
นายวิจิตร คูณาวุฒิ
นายวิจิตร คูณาวุฒิ ผู้ใช้นามปากกาว่า "คุณาวุฒิ" เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๕ เป็นผู้มีผลงานประสบการณ์หลายด้าน อาทิ เป็นทั้งนักเขียนเรื่องสั้น และสารคดี นักข่าว นักหนังสือพิมพ์และนักนิตยสาร นักทำละครโทรทัศน์เพื่อการกุศลแต่มีผลงานดีเด่นเป็นพิเศษ ในด้านสร้างสรรค์ความเจริญในวงการภาพยนตร์ มาเป็นเวลานานกว่า ๔๐ ปี ในฐานะผู้อำนวยการสร้าง ผู้กำกับการแสดง ผู้ประพันธ์เรื่อง ผู้ทำบทภาพยนตร์ และผู้ลำดับภาพ มีผลงานที่ยกย่องทุกแขนง ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมรวมถึง ๒๗ รางวัล ซึ่งมากที่สุดเป็นประวัติการณ์มีทั้งรางวัลระดับชาติรางวัลระหว่างประเทศ นายวิจิตร คุณาวุฒิ ได้บำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติเสมอมาและได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมาศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๘
นายวิจิตร คูณาวุฒิ ผู้ใช้นามปากกาว่า "คุณาวุฒิ" เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๕ เป็นผู้มีผลงานประสบการณ์หลายด้าน อาทิ เป็นทั้งนักเขียนเรื่องสั้น และสารคดี นักข่าว นักหนังสือพิมพ์และนักนิตยสาร นักทำละครโทรทัศน์เพื่อการกุศลแต่มีผลงานดีเด่นเป็นพิเศษ ในด้านสร้างสรรค์ความเจริญในวงการภาพยนตร์ มาเป็นเวลานานกว่า ๔๐ ปี ในฐานะผู้อำนวยการสร้าง ผู้กำกับการแสดง ผู้ประพันธ์เรื่อง ผู้ทำบทภาพยนตร์ และผู้ลำดับภาพ มีผลงานที่ยกย่องทุกแขนง ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมรวมถึง ๒๗ รางวัล ซึ่งมากที่สุดเป็นประวัติการณ์มีทั้งรางวัลระดับชาติรางวัลระหว่างประเทศ นายวิจิตร คุณาวุฒิ ได้บำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติเสมอมาและได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมาศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๘
นายวิจิตร คุณาวุฒิ หรือ คุณาวุฒิ สมควรได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๐
นายศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์
นายศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ (เสนีย์ เสาวพงศ์) เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๖๑ ที่จังหวัดสมุทรปราการ เป็นผู้ที่วงการวรรณกรรมร่วมสมัยของไทยยอมรับนับถือในฐานะผู้นำทางปัญญา มีผลงานอันทรงคุณค่าทั้งในรูปของนวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี และบทกวี วรรณกรรมของ ศักดิชัย บำรุงพงศ์ ให้ภาพอันสมจริงของสังคมที่เต็มไปด้วยปัญหา แต่เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ด้วยความมุ่งมั่นในอุดมคติ ด้วยความเสียสละเพื่อส่วนรวมเป็นงานที่ให้ความหวังอันตั้งอยู่บนรากฐานของความเชื่อมั่นในสัญชาตญาณใฝ่ดีของมนุษย์ ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ มีความจัดเจนในการสร้างงานที่กระตุ้นให้ผู้อ่านคิดต่อและคิดเอง ด้วยการใช้วิจารณญาณของตนแสวงหาทางออกอันเหมาะสมให้แก่ปัญหาของสังคม งานเหล่านี้จัดได้ว่าเป็นเสาหลักของวัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์ ส่งอิทธิพลไปยังวงการวรรณกรรมร่วมสมัย กระตุ้นให้นักประพันธ์ของไทยสร้างงานที่แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมออกมาอย่างต่อเนื่องและด้วยความมั่นใจ ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ เป็นผู้ที่มีประสบการณ์กว้างขวาง เข้าซึ้งถึงแก่นของวัฒนธรรมต่างชาติ สามารถสกัดเอามรดกทางปัญญาอันมีลักษณะเป็นสากลของชาติเหล่านั้นออกมาประสมประสานกับประสบการณ์ของไทยได้อย่างดียิ่ง วรรณกรรมของ ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ ได้รับความสนใจในระดับนานาชาติ มีผู้แปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา ซึ่งเท่ากับเป็นการยืนยันว่าวรรณกรรมเอกนั้นเป็นทั้งสมบัติของถิ่นกำเนิดและเป็นสมบัติของโลก
นายศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ (เสนีย์ เสาวพงศ์) เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๖๑ ที่จังหวัดสมุทรปราการ เป็นผู้ที่วงการวรรณกรรมร่วมสมัยของไทยยอมรับนับถือในฐานะผู้นำทางปัญญา มีผลงานอันทรงคุณค่าทั้งในรูปของนวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี และบทกวี วรรณกรรมของ ศักดิชัย บำรุงพงศ์ ให้ภาพอันสมจริงของสังคมที่เต็มไปด้วยปัญหา แต่เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ด้วยความมุ่งมั่นในอุดมคติ ด้วยความเสียสละเพื่อส่วนรวมเป็นงานที่ให้ความหวังอันตั้งอยู่บนรากฐานของความเชื่อมั่นในสัญชาตญาณใฝ่ดีของมนุษย์ ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ มีความจัดเจนในการสร้างงานที่กระตุ้นให้ผู้อ่านคิดต่อและคิดเอง ด้วยการใช้วิจารณญาณของตนแสวงหาทางออกอันเหมาะสมให้แก่ปัญหาของสังคม งานเหล่านี้จัดได้ว่าเป็นเสาหลักของวัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์ ส่งอิทธิพลไปยังวงการวรรณกรรมร่วมสมัย กระตุ้นให้นักประพันธ์ของไทยสร้างงานที่แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมออกมาอย่างต่อเนื่องและด้วยความมั่นใจ ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ เป็นผู้ที่มีประสบการณ์กว้างขวาง เข้าซึ้งถึงแก่นของวัฒนธรรมต่างชาติ สามารถสกัดเอามรดกทางปัญญาอันมีลักษณะเป็นสากลของชาติเหล่านั้นออกมาประสมประสานกับประสบการณ์ของไทยได้อย่างดียิ่ง วรรณกรรมของ ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ ได้รับความสนใจในระดับนานาชาติ มีผู้แปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา ซึ่งเท่ากับเป็นการยืนยันว่าวรรณกรรมเอกนั้นเป็นทั้งสมบัติของถิ่นกำเนิดและเป็นสมบัติของโลก
นายศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ หรือ เสนีย์ เสาวพงศ์ จึงได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๓๓
นายสนิท ดิษฐพันธุ์
นายสนิท ดิษฐพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๕ ที่กรุงเทพมหานคร เป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญด้านจิตรกรรมผู้บุกเบิกศิลปะสมัยใหม่ ของประเทศไทย และมีผลงานจิตรกรรมดีเด่นเป็นที่ยอมรับในวงการศิลปะและศิลปศึกษาเป็นศิลปินที่อุทิศตนให้กับการสร้างสรรค์ศิลปะเป็นเวลายาวนานกว่า ๕๐ ปี ผลงานบุกเบิกที่สำคัญคือผลงานจิตรกรรมแบบสมัยใหม่ ที่นำเอารูปแบบและเรื่องราวประเพณีไทยโบราณมาผสมผสานกับรูปแบบและวิธีการใหม่ และผลงานจิตรกรรมภาพเหมือนคนสีน้ำมันในแบบสากล นอกจากงานสร้างสรรค์ ยังมีบทบาทในการอนุรักษ์ศิลปะและให้บริการสังคมด้วยศิลปะและวิชาการอย่างกว้างขวาง ได้แสดงผลงานต่อสาธารณะในนิทรรศการศิลปะทั้งในและต่างประเทศ จนได้รับรางวัลและเกียรติคุณมากมาย ในด้านการถ่ายทอดประสบการณ์ และวิชาการเป็นอาจารย์สอนวิชาจิตรกรรมที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ในยุคก่อตั้งและรับราชการในกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๓ ได้ลาออกจากราชการเมื่ออายุครบ ๕๕ ปี เพื่อสร้างสรรค์ศิลปะอย่างอิสระ ได้อุทิศตนเองให้แก่งานราชการอย่างเต็มที่ ในปัจจุบันยังคงสร้างสรรค์งานศิลปะและใช้ชีวิตอย่างสงบเรียบง่าย เป็นศิลปินผู้มีคุณสมบัติเพียบพร้อมทุกประการ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี
นายสนิท ดิษฐพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๕ ที่กรุงเทพมหานคร เป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญด้านจิตรกรรมผู้บุกเบิกศิลปะสมัยใหม่ ของประเทศไทย และมีผลงานจิตรกรรมดีเด่นเป็นที่ยอมรับในวงการศิลปะและศิลปศึกษาเป็นศิลปินที่อุทิศตนให้กับการสร้างสรรค์ศิลปะเป็นเวลายาวนานกว่า ๕๐ ปี ผลงานบุกเบิกที่สำคัญคือผลงานจิตรกรรมแบบสมัยใหม่ ที่นำเอารูปแบบและเรื่องราวประเพณีไทยโบราณมาผสมผสานกับรูปแบบและวิธีการใหม่ และผลงานจิตรกรรมภาพเหมือนคนสีน้ำมันในแบบสากล นอกจากงานสร้างสรรค์ ยังมีบทบาทในการอนุรักษ์ศิลปะและให้บริการสังคมด้วยศิลปะและวิชาการอย่างกว้างขวาง ได้แสดงผลงานต่อสาธารณะในนิทรรศการศิลปะทั้งในและต่างประเทศ จนได้รับรางวัลและเกียรติคุณมากมาย ในด้านการถ่ายทอดประสบการณ์ และวิชาการเป็นอาจารย์สอนวิชาจิตรกรรมที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ในยุคก่อตั้งและรับราชการในกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๓ ได้ลาออกจากราชการเมื่ออายุครบ ๕๕ ปี เพื่อสร้างสรรค์ศิลปะอย่างอิสระ ได้อุทิศตนเองให้แก่งานราชการอย่างเต็มที่ ในปัจจุบันยังคงสร้างสรรค์งานศิลปะและใช้ชีวิตอย่างสงบเรียบง่าย เป็นศิลปินผู้มีคุณสมบัติเพียบพร้อมทุกประการ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี
นายสนิท ดิษฐพันธุ์ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๒
นายสมควร กระจ่างศาสตร์
นายสมควร กระจ่างศาสตร์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๔๖๕ ที่กรุงเทพมหานคร มีผลงานด้านการแสดงต่อเนื่องมายาวนาน เป็นนักแสดงอาวุโสที่ได้รับการยอมรับจากผู้ชมและนักแสดงรุ่นหลังว่าเป็นผู้มีความสามารถทางด้านการแสดงสูงเด่นเป็นอย่างยิ่ง
นายสมควร กระจ่างศาสตร์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๔๖๕ ที่กรุงเทพมหานคร มีผลงานด้านการแสดงต่อเนื่องมายาวนาน เป็นนักแสดงอาวุโสที่ได้รับการยอมรับจากผู้ชมและนักแสดงรุ่นหลังว่าเป็นผู้มีความสามารถทางด้านการแสดงสูงเด่นเป็นอย่างยิ่ง
นายสมควร กระจ่างศาสตร์ สนใจการแสดงมาตั้งแต่ครั้งเรียนหนังสือ มีความมุ่งมั่นทางด้านการแสดงมาโดยตลอด โดยเริ่มแสดงละครเมื่อเรียนชั้นมัธยมศึกษา จากนั้นได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของนายสุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม นักแสดงจำอวดผู้มีชื่อเสียง จนสามารถรับงานแสดงเป็นที่นิยมของประชาชนตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนมัธยม ๔ แล้ว ได้แสดงละครเวทีกับคณะนิยมไทย จนมีชื่อเสียงในความเป็นนักแสดงเจ้าบทบาทจึงได้รับการติดต่อให้แสดงเป็นพระเอกภาพยนตร์ เรื่อง แม่ศรีเรือน สลับกับการแสดงละครเวทีที่มีผู้ชมติดตามชมกันอย่างเนืองแน่น ในบทเด่น ๆ ของละครเวที เช่น บทชีวิต บททหารเอก บทนักดาบ ที่ต้องใช้ความสามารถในการแสดงเป็นอย่างสูง ต่อมาได้ริเริ่มใช้การแสดงสอนคุณธรรมจริยธรรมในสังคมด้วยการกำกับการแสดงภาพยนตร์โทรทัศน์ชุดพิภพมัจจุราช หุ่นไล่กา ชุมทางชีวิต ซึ่งเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์ที่มีชื่อเสียงยิ่งในอดีตของไทย
นายสมควร กระจ่างศาสตร์ เป็นนักแสดงที่มีความสามารถเป็นที่ยอมรับของทุกคนในวงการ เป็นนักแสดงที่ผ่านชีวิตการแสดงทั้งจากละครเวที ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ จนได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง ตุ๊กตาเงิน สุพรรณหงษ์ทองคำจากการแสดง
นายสมควร กระจ่างศาสตร์ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ละครเวที-นักแสดง) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๙
นายสวัสดิ์ ตันติสุข
นายสวัสดิ์ ตันติสุข เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ ที่กรุงเทพมหานคร เป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญผู้บุกเบิกศิลปะสมัยใหม่ของประเทศ มีผลงานจิตกรรมดีเด่นเป็นที่ยอมรับของวงการศิลปะ ทั้งในอดีตและปัจจุบันได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานกว่า ๕๐ ปี การบุกเบิกงานจิตกรรมที่สำคัญคือได้สร้างสรรค์ผลงานจากแบบที่เป็นรูปธรรมเข้าสู่แบบนามธรรมซึ่งมีผลต่อพัฒนาการด้านจิตกรรมของศิลปินรุ่นหลังเป็นอย่างมาก ทำให้ศิลปินไทยประสบความสำเร็จในวงการศิลปะนานาชาติ และยังได้อุทิศตน ให้กับการสอนและการเผยแพร่ศิลปะโบราณและสมัยใหม่ให้แก่นักศึกษาในสถาบันการศึกษาและประชาชนทั่วไป ได้ร่วมแสดงผลงานในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ศิลปะนานาชาติ และการแสดงศิลปะอื่นๆ มากมายจนถึงปัจจุบัน ผลงานศิลปะและวิชาการทางศิลปะเป็นประโยชน์ต่อสังคมในทางสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก ได้รับรางวัลและเกียรติคุณจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติและนานาชาติ เป็นศิลปินชั้นเยี่ยมของการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ดำรงชีวิต สร้างสรรค์ศิลปะ และประกอบกิจการงานด้วยคุณธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง
นายสวัสดิ์ ตันติสุข เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ ที่กรุงเทพมหานคร เป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญผู้บุกเบิกศิลปะสมัยใหม่ของประเทศ มีผลงานจิตกรรมดีเด่นเป็นที่ยอมรับของวงการศิลปะ ทั้งในอดีตและปัจจุบันได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานกว่า ๕๐ ปี การบุกเบิกงานจิตกรรมที่สำคัญคือได้สร้างสรรค์ผลงานจากแบบที่เป็นรูปธรรมเข้าสู่แบบนามธรรมซึ่งมีผลต่อพัฒนาการด้านจิตกรรมของศิลปินรุ่นหลังเป็นอย่างมาก ทำให้ศิลปินไทยประสบความสำเร็จในวงการศิลปะนานาชาติ และยังได้อุทิศตน ให้กับการสอนและการเผยแพร่ศิลปะโบราณและสมัยใหม่ให้แก่นักศึกษาในสถาบันการศึกษาและประชาชนทั่วไป ได้ร่วมแสดงผลงานในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ศิลปะนานาชาติ และการแสดงศิลปะอื่นๆ มากมายจนถึงปัจจุบัน ผลงานศิลปะและวิชาการทางศิลปะเป็นประโยชน์ต่อสังคมในทางสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก ได้รับรางวัลและเกียรติคุณจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติและนานาชาติ เป็นศิลปินชั้นเยี่ยมของการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ดำรงชีวิต สร้างสรรค์ศิลปะ และประกอบกิจการงานด้วยคุณธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง
นายสวัสดิ์ ตันติสุข จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๔
นายหยัด ช้างทอง
นายหยัด ช้างทอง เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๒ที่กรุงเทพมหานคร เป็นศิลปินที่มีความรู้ความสามารถในการแสดงโขนทุกประเภท โดยเฉพาะเป็นหลักและแม่แบบของตัวยักษ์ เป็นผู้อนุรักษ์แบบแผนของศิลปะการแสดงโขน และได้ประดิษฐ์ผลงานทางด้านการแสดงโขนหลายชุดซึ่งกรมศิลปากรยึดถือเป็นแบบฉบับของการแสดงสดมา เป็นนาฎศิลปินโขนคนปัจจุบันที่มีอาวุโสสูงสุดในบรรดาศิลปินที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้รับมอบท่ารำหน้าพาทย์ องค์พระพิราพ และยังสามารถรำได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นที่ปรึกษาและอบรมสั่งสอนวิชาการเกี่ยวกับศิลปะการแสดงโขนให้แก่หน่วยราชการและเอกชนทั่วไป เป็นผู้เสนอสละและอุทิศตนเพื่อศิลปะการแสดงโขนอย่างแท้จริง มาเป็นเวลากว่า ๕๐ ปี จนเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการนาฎศิลป์ไทยตลอดระยะเวลาอันยาวนาน
นายหยัด ช้างทอง เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๒ที่กรุงเทพมหานคร เป็นศิลปินที่มีความรู้ความสามารถในการแสดงโขนทุกประเภท โดยเฉพาะเป็นหลักและแม่แบบของตัวยักษ์ เป็นผู้อนุรักษ์แบบแผนของศิลปะการแสดงโขน และได้ประดิษฐ์ผลงานทางด้านการแสดงโขนหลายชุดซึ่งกรมศิลปากรยึดถือเป็นแบบฉบับของการแสดงสดมา เป็นนาฎศิลปินโขนคนปัจจุบันที่มีอาวุโสสูงสุดในบรรดาศิลปินที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้รับมอบท่ารำหน้าพาทย์ องค์พระพิราพ และยังสามารถรำได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นที่ปรึกษาและอบรมสั่งสอนวิชาการเกี่ยวกับศิลปะการแสดงโขนให้แก่หน่วยราชการและเอกชนทั่วไป เป็นผู้เสนอสละและอุทิศตนเพื่อศิลปะการแสดงโขนอย่างแท้จริง มาเป็นเวลากว่า ๕๐ ปี จนเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการนาฎศิลป์ไทยตลอดระยะเวลาอันยาวนาน
นายหยัด ช้างทอง จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (นาฎศิลป์-โขน) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๒
นายอบ ไชยวสุ
นายอบ ไชยวสุ หรือครูอบ นามปากกา "ฮิวเมอริสต์" เกิดวันที่ ๑๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๔ เป็นนักประพันธ์ชั้นครู ผู้นำในแนวเขียนเชิงหัสคดีของไทยที่เด่นที่สุดและมีบทบาทเป็นผู้อนุรักษ์ภาษาไทยอย่างมั่นคงมาแต่ต้นจนปัจจุบัน
นายอบ ไชยวสุ หรือครูอบ นามปากกา "ฮิวเมอริสต์" เกิดวันที่ ๑๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๔ เป็นนักประพันธ์ชั้นครู ผู้นำในแนวเขียนเชิงหัสคดีของไทยที่เด่นที่สุดและมีบทบาทเป็นผู้อนุรักษ์ภาษาไทยอย่างมั่นคงมาแต่ต้นจนปัจจุบัน
ผลงานของครูอบ นอกจากเป็นครูโดยอาชีพมาแต่เดิมแล้ว ท่านยังทำงานด้านวรรณกรรมตลอดมา โดยเป็นทั้งบรรณาธิการ นักหนังสือพิมพ์ นักภาษาและนักประพันธ์รวมทั้งเป็นผู้หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มนักประพันธ์ชื่อคณะ " สุภาพบุรุษ” เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๒ เป็นกลุ่มนักประพันธ์มีชื่อรุ่นก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งเสมือนเป็นสายธารแห่งวรรณศิลป์ไทยยุคใหม่ที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน
งานวรรณศิลป์ที่เด่นที่สุดของครูอบในนามปากกา " ฮิวเมอริสต์" จำแนกเป็น ๓ ประเภท คือ เรื่องชวนขัน หรือ หัสคดี เรื่องเกี่ยวกับภาษาไทย และเรื่องแปล
งานเขียนของท่านมีความเป็นเลิศอยู่ ๒ ด้าน คือ อารมณ์ขัน และการใช้ภาไทย นามปากกา "ฮิวเมอริสต์" จึงถือเป็นผู้นำในแนวเขียนเชิงหัสคดีของไทย ที่เป็นแบบฉบับของวรรณศิลป์ไทย อันหาคนเขียนงานในแนวนี้ยากมากแม้ในปัจจุบันผลงานของท่านได้เชิดชูคุณค่าของอารมณ์ในภาษาไทยให้เราได้ประจักษ์ในอัจฉริยลักษณ์ของคนไทยที่มีในทุกยุคสมัย
นายอบ ไชยวสุ หรือ "ฮิวเมอริสต์" จึงได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ (สาขาวรรณศิลป์) ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๒๘
นายอังคาร กัลยาณพงศ์
นายอังคาร กัลยาณพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๙ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นกวีร่วมสมัยผู้ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างสรรค์กวีนิพนธ์สมัยใหม่ให้แก่วรรณศิลป์ไทย โดยชุบชีวิตขนบวรรณศิลป์ไทยให้เติบโตสอดคล้องกับวรรณศิลป์ร่วมสมัย โดยการศึกษาวรรณศิลป์จากกวีโบราณเพื่อเข้าใจแก่นแท้ของสุนทรียะทั้งด้านความงามและความคิด และนำความเข้าใจนี้มาเป็นฐานรองรับการสร้างสรรค์วรรณศิลป์เฉพาะตนขึ้น ผลงานกวีนิพนธ์เป็นศิลปะซึ่งมุ่งสร้างสรรค์ให้เป็น “ กุศลศิลป์ ” อันจักช่วยจรรโลงโอบอุ้มจิตใจมนุษย์ให้ล่วงพ้นมลทินแห่งความหลงใหลในวัตถุ มุ่งเตือนมนุษย์ให้เห็นปัญญาในสังคม การทำลายธรรมชาติและการทำลายมนุษย์ด้วยกันเองโดยความเขลา โดยมิได้แสดงถึงปัญหาอย่างสิ้นหวังไร้ทางแก้ไข หากแต่มีความมั่นใจว่า การพินิจธรรมชาติ และเรียนรู้ธรรมะจากธรรมชาติ จะช่วยให้มนุษย์รอดพ้นจากหายนะภัย อันจะเกิดขึ้นได้จากความเห็นแก่ตัวและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของมนุษย์เอง ภาษาวรรณศิลป์ที่ใช้เป็นความงาม ความสะเทือนใจ ทำให้ตระหนักในคุณค่าของธรรมชาติซึ่งเป็นสุนทรียะและทางรอดของมนุษย์ ได้ประกาศหน้าที่ของตนเองในฐานะกวี ด้วยความภาคภูมิใจว่าเป็นสิ่งสูงสุด ความรักความมุ่งมั่นแน่วแน่ในหน้าที่ของกวี ที่จะมอบความดีความงามแก่โลกเช่นนี้ ช่วยให้งานมีพลังสร้างสรรค์เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ เป็นประโยชน์อันประมาณมิได้แก่สังคมไทยและมนุษย์ทั้งมวล
นายอังคาร กัลยาณพงศ์ จึงได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๓๒
อาจินต์ ปัญจพรรค์
อาจินต์ ปัญจพรรค์ เกิดเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2470 ที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรชายของขุนปัญจพรรค์พิบูล อดีตนายอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และข้าหลวงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดนครปฐม (มาติณ ถีนิติ) กับนางกระแส ปัญจพรรค์ (โกมารทัต) มีพี่น้องร่วมบิดามารดา คือ ชอุ่ม ปัญจพรรค์ พล.ต.ท.ลัดดา ปัญจพรรค์ และวัฒนา ปัญจพรรค์
เรียนชั้นประถมที่โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย แล้วมาต่อมัธยมที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ ปากคลองตลาด โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและเข้าเรียนต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงเวลาตอนที่อาจินต์กำลังเรียนอยู่ชั้นปีที่สองนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ทำให้มหาวิทยาลัยงดการเรียนการสอน นิสิตต่างพากันกลับบ้านเกิดเพื่อหนีการทิ้งระเบิดเพื่อทำลายจุดยุทธศาสตร์สำคัญในกรุงเทพ เมื่อภาวะสงครามสงบอาจินต์กลับมาเรียนอีกครั้ง แต่การใช้ชีวิตในช่วงหลบหนีนั้นกลับทำให้อาจินต์ไม่สามารถเรียนได้ดีจึงถูกรีไทร์ บิดาจึงส่งอาจินต์ไปทำงานหนักในเหมืองแร่เพื่อดัดนิสัยที่จังหวัดพังงา อาจินต์ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ในช่วงเวลาดังกล่าวมาเขียนในเรื่องสั้นชุดเหมืองแร่
เคยเป็นบรรณาธิการนิตยสารฟ้าเมืองไทยรายสัปดาห์ ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง เมื่อ พ.ศ. 2512-2531 ชีวิตส่วนตัว อาศัยอยู่ที่บ้านสุทธิสาร กับภริยา ไม่มีบุตร คติคือ "ทำอะไรทำจริง"
ผลงาน
หนังสือ
* หนังสือรวมเรื่องสั้น ชุด เหมืองแร่ ชื่อ ตะลุยเหมืองแร่ (ต่อมา ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ มหา'ลัย เหมืองแร่)
เพลง
* แต่งเพลงสวัสดีบางกอก ที่ขึ้นด้วย "อย่าไป เลยบางกอกจะบอกให้ / พี่เคยไปมาแล้วน้องแก้วเอ๋ย" ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ขับร้อง
* ประพันธ์คำร้องภาษาไทยในเพลงพระราชนิพนธ์ไร้จันทร์ จากทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ No Moon
รางวัล
* ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ในปี 2534
* รางวัลศรีบูรพา ประจำปี 2535
นาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น
นาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น เกิดเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๔๘๕ ที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาปริญญาศิลปบัณฑิต (สถาปัตยกรรมไทย) มหาวิทยาลัยศิลปากร เข้ารับราชการครั้งแรกในกองทัพอากาศ และได้โอนมาดำรงตำแหน่งนายช่างศิลปกรรม กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร โดยปัจจุบันดำรงตำแห่งผู้เชี่ยวชาญด้านออกแบบสถาปัตยกรรมไทย และบูรณะปฎิสังขรณ์สถาปนิกระดับ ๑๐ กรมศิลปากรมีผลงานดีเด่นทางด้านการอนุรักษ์โบราณสถานของชาติมาตลอด เคยได้รับมอบหมายให้บูรณะปฎิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวังในส่วนของ พระมณฑป หอพระมณเฑียรธรรมปราสาทพระเทพบิดร พระศรีรัตนเจดีย์ พระสุวรรณเจดีย์ หอพระนาก ช่อฟ้าใบระกาหน้าบันพระอุโบสถ ท้องพระโรงหน้าพระที่นั้งจักรพรรดิพิมานฯลฯ ออกแบบอาคารต่าง ๆ ในบริเวณศาลหลักเมือง กรุงเทพฯ ในส่วนของศาลพระหลักเมือง ศาลเทพารักษ์และหอพระพุทธรูปออกแบบลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์พลับพลารับพระราชอาคันตุกะ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีผลงานด้านสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นเป็นจำนวนมากผลงานอันเป็นที่กล่าวขานทั่งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้แก่ การออกแบบพระเมรุมาศทรงปราสาทจตุรมุขยอดเกี้ยว ประดับด้วยศิลปกรรมตกแต่งอย่างงดงาม แสดงถึงความเป็นเลิศในงานสถาปัตยกรรมไทยที่นาวาอากาศเอกอาวุธได้สืบสานสร้างสรรค์ให้ปรากฎแก่สาธารณชน
เคยได้รับเกียรติคุณปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สถาปัตยกรรมไทย) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมไทย) จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เกียรติคุณผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่นด้านสถาปัตยกรรมไทย ประเภทบุคคลจากสำนักนายกรัฐมนตรี
นาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (สถาปัตยกรรมไทย) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๑
รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี
รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐ เป็นชาวจังหวัดสงขลา เป็นสถาปนิกและศิลปินอาวุโสดีเด่น เป็นที่ยอมรับในด้านสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะในด้านสถาปัตยกรรมแบบไทย ซึ่งในปัจจุบันมีสถาปนิกในด้านนี้น้อยมาก
รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรีเป็นสถาปนิกคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งในจำนวนสถาปนิกไม่กี่คนในด้านนี้ที่ได้ศึกษาและสร้างสรรค์ผลงานสถาปัตยกรรมและสถาปัตยศิลป์แบบไทยมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ได้ศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมและวิชาสถาปัตยศิลป์แบบประเพณีและแบบใหม่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้นำเอาวิชาการแบบใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในงานสถาปัตยกรรมและวิชาสถาปัตยศิลป์แบบไทยในปัจจุบันได้เป็นผลสำเร็จเป็นอย่างดี รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ได้อุทิศตนให้กับงานสถาปัตยกรรมและวิชาสถาปัตยศิลป์เพื่อส่วนรวมมาเป็นเวลาเกือบ ๔๐ ปี รับใช้ศาสนาและสังคมด้วยผลงานศิลปกรรม มีผลงานจำนวนมากทั้งในพระราชอาณาจักรและในต่างประเทศ โครงการสำคัญที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการคือ วัดไทยกุสินารามหาวิหาร ประเทศอินเดีย วัดไทยที่ลุมพินี ประเทศเนปาล เป็นสถาปนิกและศิลปินที่อุทิศตนให้กับส่วนรวมในด้านสถาปัตยกรรมและวิชาสถาปัตยศิลป์ เป็นผู้อนุรักษ์สร้างสรรค์ และถ่ายทอดวิชาการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เป็นบุคคลที่มีคุณค่านับอเนกอนันต์ของประเทศ เป็นคนดีมีวิชาที่สมควรได้รับการยกย่องเป็นอย่างยิ่งในผลงานและการทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนรุ่นหลัง เป็นศิลปินที่มีคุณธรรมและจริยธรรมทั้งในชีวิตและผลงาน
รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๗
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หรือ “ ท่านมุ้ย ” ประสูติเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๕ ที่กรุงเทพมหานคร เป็นโอรสของ พลโทพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ และหม่อมอุบล ยุคล ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทละโว้ภาพยนตร์ จำกัด ที่มีชื่อเสียงด้านการสร้างภาพยนตร์ไทยมานานกว่า ๔๐ ปี ดังนั้น จึงทรงเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทั้งในด้านการกำกับและการเป็นช่างภาพ ทรงศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยที่ UCLA ประเทศสหรัฐอเมริกา วิชาเอกด้านธรณีวิทยาและวิชาโทด้านภาพยนตร์ ทำให้มีความรู้ความชำนาญและมีประสบการณ์ในเรื่องภาพยนตร์มากยิ่งขึ้น
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ทรงริเริ่มเขียนบทและกำกับภาพยนตร์โทรทัศน์ ครั้งแรกเรื่อง “ ผู้หญิงก็มีหัวใจ ” เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ปัจจุบันประสบความสำเร็จทางด้านวิชาชีพ ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ ในสาขาการกำกับการแสดงยอดเยี่ยม ภาพถ่ายยอดเยี่ยม บทประพันธ์ยอดเยี่ยม กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ลำดับภาพยอดเยี่ยม รวมทั้งสิ้น ๒๒ รางวัล ผลงานที่มีคุณค่าทางด้านการสร้างภาพยนตร์ไทยล่าสุดคือ เรื่อง “ สุริโยไท ” เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่เรื่องหนึ่ง และเป็นภาพยนตร์ระดับชาติที่รวมดาราชั้นนำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์การสร้างภาพยนตร์ไทย
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ทรงใช้เทคนิคทางด้านภาพยนตร์สร้างสรรค์งาน เพื่อให้ผลงานออกมาเป็นภาพที่สมบูรณ์อย่างมีศิลปะ วางแนวทางในการพัฒนาภาพยนตร์ไทย เพื่อให้ได้มาตรฐานทัดเทียมต่างประเทศมาโดยตลอด ผลงานการสร้างภาพยนตร์ทุกเรื่อง ส่วนใหญ่มีลักษณะในแนวสร้างสรรค์สังคมและสะท้อนปัญหาของสังคมไทยได้อย่างชัดเจนและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล สามารถนำออกจำหน่ายในตลาดภาพยนตร์ทั่วโลก ผลงานของท่านนับได้ว่ามีส่วนเผยแพร่คุณค่าของศิลปะการแสดงประเภทสื่อภาพยนตร์ไทยที่แสดงถึงความเป็นไทยให้ทั่วโลกได้รู้จักมายิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างประโยชน์ทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจให้แก่ประเทศไทยโดยรวม
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้สร้างภาพยนตร์-ผู้กำกับการแสดง) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๔
***********************************************